วันอาทิตย์, 15 กันยายน 2024 | 2 : 44 pm
วันอาทิตย์, 15 กันยายน 2024 | 2:44 pm

“เวลลิงตัน คอลเลจ กรุงเทพฯ” ต้นแบบโรงเรียนดี-คอมมิวนิตี้แข็งแรง

หากพูดถึงโรงเรียนนานาชาติที่ถูกจัดอันดับ “หนึ่งในโรงเรียนที่ดีที่สุดในประเทศไทย” ต้องมีชื่อ “เวลลิงตัน คอลเลจ กรุงเทพฯ” (Wellington College International School Bangkok) ของ ดร.แพรว-ดาริกา ลัทธพิพัฒน์ อยู่ด้วยอย่างแน่นอน ด้วยจุดแข็งของโรงเรียนที่มีหลักสูตรส่งตรงมาจากประเทศอังกฤษมีแนวทางการเรียน การสอนที่มุ่งเน้นให้เด็ก ๆ มีตัวเลือกในการทำกิจกรรมเพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการค้นหาตัวเอง ได้อย่าง มีประสิทธิภาพ และมีความสุขไปพร้อมกับสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้อย่างแท้จริง นอกเหนือจากระบบ การศึกษาที่แข็งแกร่ง และสิ่งอำนวยความสะดวกที่โดดเด่น เวลลิงตันฯ ยังให้ความสำคัญด้านการส่งเสริม คอมมิวนิตี้ผู้ปกครองที่แข็งแกร่งอีกด้วย

มร.คริสโตเฟอร์ นิโคลส์ ครูใหญ่โรงเรียนนานาชาติเวลลิงตัน คอลเลจ กรุงเทพฯ กล่าวว่า Friends of Wellington ถือเป็นอัตลักษณ์อย่างหนึ่งของเวลลิงตัน เป็นคอมมิวนิตี้ผู้ปกครอง ที่ช่วยนำพาให้บรรดาผู้ปกครอง ครู และสมาชิกคนอื่น ๆ ในชุมชนโรงเรียนได้มาร่วมกันแบ่งปัน เรียนรู้ และสังสรรค์ร่วมกัน ซึ่งวัตถุประสงค์หลัก ก็คือ การสนับสนุนสมาชิกทุกคนในโรงเรียนในด้านการมีส่วนร่วม การสร้างเพื่อนใหม่ การพัฒนาเครือข่าย ชุมชนโรงเรียนและอื่น ๆ ซึ่งชุมชนโรงเรียนที่ดี ต้องเป็นชุมชนที่เปี่ยมไปด้วยพลังบวกและความสร้างสรรค์

ดร.ดาริกา ลัทธพิพัฒน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ และประธานบริหารโรงเรียนนานาชาติ เวลลิงตัน คอลเลจ กรุงเทพฯ กล่าวว่า ที่เวลลิงตัน คอลเลจฯ นอกจากจะมีหลักสูตรการศึกษาประเทศอังกฤษ มีกิจกรรมสันทนาการ มีพื้นที่ให้เด็ก ๆ ได้ใช้ชีวิตอย่างมีความสุขแล้ว ยังเปิดโอกาสให้พ่อแม่ และ ผู้ปกครอง ทุกท่านมีส่วนร่วมในการเรียนการสอนของลูก รวมไปถึงการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ที่ช่วยส่งเสริมให้สุขภาพจิต ของลูกให้สดใส ร่าเริง และมีพัฒนาการที่เติบโตสมวัย ทั้งนี้ โรงเรียนได้เรียนรู้มากมายจากช่วงการระบาด ของโควิด-19 ซึ่งเราต่างต้องทำงานจากที่บ้านเป็นเวลายาวนาน โดยสิ่งที่ยากที่สุดในช่วงเวลานั้นไม่ใช่การศึกษา แต่เป็นการขาดปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ (human contact) และเมื่อเราสามารถกลับมาสู่โลกแห่งการ เรียนรู้ในชีวิตจริงได้อีกครั้ง นั่นทำให้เราตระหนักว่าชุมชนนั้นมีความสำคัญมากเพียงใด ชุมชนผู้ปกครอง จึงไม่ใช่เพียงแค่การพูดคุยกับผู้ปกครองคนอื่น ๆ ที่หน้าประตูโรงเรียนในตอนเช้า แต่มันคือเครือข่ายที่พัฒนาขึ้น เช่น เมื่อเด็ก ๆ ได้รู้จักเพื่อนใหม่ และครอบครัวของพวกเขาเริ่มพัฒนาความเป็นเพื่อน หรือการที่ผู้ปกครองมีโอกาส ได้พูดคุยกับเพื่อน ๆ ที่มีลูกอยู่โรงเรียนอื่น และแนะนำให้พวกเขามาเยี่ยมชมโรงเรียนเรา เป็นต้น

ดร.ดาริกา กล่าวส่งท้ายว่า “หากชุมชนมีความเข้มแข็ง มีความสุข และมีความไว้เนื้อเชื่อใจกัน นั่นก็จะช่วยให้ฝ่ายบริหารและพนักงานสามารถสื่อสารอย่างเปิดเผยและตรงไปตรงมากับทุกคนได้ ด้วยวิธีนี้ เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น เราสามารถจัดการและแก้ไขได้ด้วยความมั่นใจและไม่เกรงกลัว”

ด้าน นายนทชาติ จินตกานนท์ ผู้อำนวยการสำนักการต่างประเทศ สำนักงานคณะกรรมการ กิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) ประธานกลุ่ม Friends of Wellington เล่าถึงการมีส่วนร่วมของกลุ่มผู้ปกครองว่า Friends of Wellington สะท้อนให้เด็ก ๆ ได้เห็น role model ของการร่วมมือร่วมใจ การเห็นคุณค่าของชุมชนที่เรามีปฎิสัมพันธ์อยู่ ซึ่งนี่จะเป็นพื้นฐานที่ดีที่เวลลิงตัน พยายามปลูกฝังให้เด็กๆ เติบโตเป็น Global Citizen ที่ดีและมีประสิทธิภาพ
ซินดี้ – สิรินยา บิชอพ รองประธานและหัวหน้าฝ่าย CSR สมาคมผู้ปกครองโรงเรียนนานาชาติ เวลลิงตัน คอลเลจ กรุงเทพฯ กล่าวว่า คอมมิวนิตี้ผู้ปกครองในการพัฒนาโรงเรียนและการศึกษายุคใหม่ของลูก ๆ มีความสำคัญมาก อย่างลูก ๆ มาเรียนแน่นอนว่ามาตรฐานของโรงเรียนคือส่วนหนึ่งที่สำคัญ แต่เหนือสิ่งอื่นใด การสร้างคอมมิวนิตี้ผู้ปกครองให้มีส่วนร่วมไปด้วยกันก็สำคัญมาก เพราะทำให้ความสัมพันธ์ระหว่าง คอมมิวนิตี้ ผู้ปกครอง และลูก ๆ ดีขึ้น การที่เราได้มาทำอะไรร่วมกันทั้งที่มีความหลากหลาย ความแตกต่าง ไม่รู้จักกัน แต่พอมาอยู่ในสถานที่เดียวกัน สร้างอะไรให้ซึ่งกันและกันถือว่าเป็นเรื่องที่ดี ที่ผ่านมา Friends of Wellington ได้ร่วมกันจัดกิจกรรมให้เด็ก ๆ เยอะมาก ซึ่งช่วงโควิด-19ได้ห่างหายไปถึง 3 ปี ต่อมาเราได้มีกิจกรรม เรื่อย ๆ ทุกครั้งที่โรงเรียนมีงานหรือกิจกรรมอะไรทางเราก็สามารถสนับสนุน และร่วมมือกับทางโรงเรียนได้เพื่อลูก ๆ ของเรา นอกเหนือจากการเรียนหนังสือ เด็กยัง ได้สัมผัสกับสิ่งแวดล้อมที่ดี เมื่อลูกกลับบ้านเราได้พบว่า ลูกของเรามีความสุข ตื่นเต้นที่จะบอกเล่าว่าวันนี้เจออะไรมาบ้าง ได้เห็นลูก ๆ ของเรามีพัฒนาการไปในทิศทาง ที่ดีขึ้น ถือว่าโอเคมาก ๆ เลย

“ตัวอย่างเช่นในปีนี้ เราได้กลับมาทำกิจกรรมร่วมกันอีกครั้ง กับงาน Christmas Fayre ที่ห่างหายไปเกือบ 3 ปี ทุกคนได้มาร่วมกันสร้างรอยยิ้ม เด็ก ๆ มีความสุขมาก อีกทั้งยังได้เห็นว่าโรงเรียนสามารถเป็นสถานที่ที่ทำให้ พวกเขามีความสุข โรงเรียนเป็นมากกว่าสถานที่ที่มาเรียนหนังสือ เป็นสนามเด็กเล่น มีแสงสี-เสียงที่สวยงาม ส่งผลให้เขาเกิดความสัมพันธ์ที่รู้สึกดีกับโรงเรียน ไม่ใช่ว่าในแต่ละวันมาเพียงเพื่อเรียนหนังสืออย่างเดียว แต่โรงเรียนสามชารถเป็นสชถานที่ ที่สร้างความรู้สึกดี ๆ ร่วมกันได้”

ส่วน เบคกี้-ริสา หงษ์หิรัญ ในฐานะที่เป็นผู้ปกครองที่ลูกเรียนที่โรงเรียนนี้ กล่าวว่า การที่ลูกเรียนอยู่ใน โรงเรียนที่มีสภาพแวดล้อมที่ดี คอมมิวนิตี้ที่ดี ทำให้ลูกมีความสุข เราสังเกตจากการที่ลูกมาเล่าให้ฟังว่าเค้ากล้าที่ จะเข้าหาคุณครูเพื่อปรึกษาปัญหาต่างๆ นั่นแสดงว่าเค้ารู้สึกว่าครูและโรงเรียนคือเซฟโซนของเค้า ซึ่งถือเป็นสิ่ง ดีมากที่จะทำให้เค้าสามารถพัฒนาการเรียนรู้ได้อย่างเต็มที่

“โรงเรียนนานาชาติเวลลิงตัน คอลเลจ กรุงเทพฯ” เป็นโรงเรียนสหศึกษาเอกชนตามหลักสูตร ระบบการศึกษาของประเทศอังกฤษ ได้นำหลักสูตรเข้ามาปรับและพัฒนาการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับ วัฒนธรรมไทย เป็นหนึ่งในโรงเรียนเอกชนที่ถูกร่ำลือบอกเล่ากันปากต่อปาก ว่า มีหลักสูตรการศึกษาชั้นเลิศ หนึ่งในโรงเรียนเอกชนที่ดีที่สุดในประเทศไทย โดดเด่นทั้งด้านวิชาการ เน้นการสร้างแรงบันดาลใจ การคิดวิเคราะห์ สามารถพึ่งพาตนเองได้ มีความกล้าที่จะออกไปเผชิญความท้าทายนอกรั้วโรงเรียนทั้งเรื่องการเรียนและการใช้ชีวิต นอกจากหลักสูตรการศึกษาที่เข้มแข็ง ยังมีอาคารเรียนระดับเวิลด์คลาส มีความหลากหลายทางด้านเชื้อชาติ ศาสนา วัฒนธรรม และสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเติบโตอย่างมีประสิทธิภาพของเด็ก ๆ จนนำไปสู่การเป็น Global Citizen สุดท้ายนี้เวลลิงตัน เชื่อว่าคอมมิวนิตี้ผู้ปกครองที่แข็งแกร่ง จะส่งผลต่อการเรียน และการเติบโตของเด็ก ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ “เวลลิงตัน” ได้ส่งเสริม และให้ความสำคัญในเรื่องนี้เสมอมา