วันศุกร์, 22 พฤศจิกายน 2024 | 8 : 01 pm
วันศุกร์, 22 พฤศจิกายน 2024 | 8:01 pm

“จุฬาฯ–เจริญ ชัยฯ–อีโนวาฯ” สร้างมิติใหม่นำสายใต้ดินทั้งระบบทันสมัยอันดับ 1 ของโลกใช้หม้อแปลงซับเมอร์สใต้น้ำ ลงดิน ไม่บังหน้าบ้าน ไม่บังร้านค้า ปลอดอัคคีภัย ลดคาร์บอน 100 ตัน/ปี

“จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บริษัท เจริญชัยหม้อแปลง ไฟฟ้า จํากัด และบริษัท อีโนวา อินทิเกรชั่น จำกัด ร่วมสร้างมิติใหม่นำสายไฟลงดินทั้งระบบบนพื้นที่ “สยามสแควร์” เจริญชัยฯ ส่งมอบหม้อแปลงใต้น้ำซับเมอร์ส ลดคาร์บอนอันดับ 1 ของโลก ให้ จุฬาฯ ยัน! เป็นหม้อแปลงซับเมอร์ส นวัตกรรมของคนไทยลดคาร์บอนได้ 100 ล้านตันต่อปี ด้าน TGO ประกาศเกียรติคุณ ลดคาร์บอนได้ 69.746 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ด้าน จุฬาฯ เชิญชวนคนไทยเยี่ยมชมสยามสแควร์ สถานที่ท่องเที่ยวแห่งใหม่นำสายไฟลงดินทั้งระบบ ชมหม้อแปลงซับเมอร์ส นวัตกรรมคนไทย ปลอดอัคคีภัย ลดคาร์บอน ลดโลกร้อน แหล่งเรียนรู้การประหยัดพลังงาน”

ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออากรณ์ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ในฐานะตัวแทนของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รู้สึกยินดีที่ทุกฝ่ายได้ร่วมพัฒนาระบบไฟฟ้าใต้ดินทั้งระบบ ในพื้นที่จุฬาฯ ดังกล่าว เป็นโครงการความร่วมมือระหว่าง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บริษัทเจริญชัยหม้อแปลง ไฟฟ้า จํากัด และบริษัท อีโนวา อินทิเกรชั่น จำกัด บนพื้นที่ของสยามสแควร์ เพื่อนำร่องความมั่นคงทางระบบไฟฟ้า ความปลอดภัย ความทันสมัย รวมถึงการจัดการความมั่นคงด้านพลังงาน ตามนโยบายการเพิ่มศักย์ภาพเมือง SMART CITY ของกรุงเทพมหานคร ที่ต้องการยกระดับเป็นมหานครแห่งอาเซียน เป็นเมืองท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

การนำระบบไฟฟ้าลงดินทั้งระบบ รวมทั้งหม้อแปลงไฟฟ้าด้วยนั้น เป็นการสร้างทัศนีย์ภาพอันสมบูรณ์ อย่างที่สยามสแควร์ขณะนี้ สร้างเป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ที่สวยงาม สร้างระบบไฟฟ้าที่มีความมั่นคง สร้างความปลอดภัยอัคคีภัยแก่ประชาชน ในเขตพื้นที่สยามสแควร์
“หม้อแปลงซับเมอร์ส สามารถเข้ามาแก้ไขปัญหาหม้อแปลงที่ติดตั้งบนเสาไฟที่มีทัศนีย์ภาพไม่น่าดู ให้มีทัศนีย์ภาพที่สวยงาม ไม่บดบังหน้าร้าน อาคารสถานประกอบการ การนำหม้อแปลงลงดินจะประโยชน์ต่อสังคมและพี่น้องประชาชน ทั้งด้านความปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สิน ป้องกันการเกิดอัคคีภัย และสร้างทัศนีย์ภาพที่สวยงามให้เมือง สร้างแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ ช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจการค้าขายในพื้นที่ให้แก่ประชาชน ทั้งยังช่วยเพิ่มมูลค่าของที่ดินให้มีราคาเพิ่มมากขึ้น”

“นอกจากนี้ ปัญหาที่เกิดขึ้นกับหม้อแปลงไฟฟ้าที่ติดตั้งบนเสาไฟ ไม่ว่าจะเป็นน้ำท่วม ต้นไม้พาดเกี่ยว และสัตว์เลื้อยคลานทำให้เกิดอุบัติเหตุ สร้างความเสียหายจนทำให้เกิดอัคคีภัย ระบบไฟฟ้าลัดวงจรก็จะหมดไป โดยหากมีการนำหม้อแปลงไฟฟ้าที่อยู่บนเสาลงดิน ก็จะลดความเสี่ยงด้านอัคคีภัย เกิดความปลอดภัยและไฟฟ้าเกิดความเสถียรภาพ รวมทั้งมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน และระบบไฟฟ้าใต้ดินจะมีเสถียรภาพมากกว่าระบบสายไฟฟ้าอากาศ เพื่อรองรับตามนโยบายการเป็นมหานครแห่งอาเซียนของกรุงเทพมหานคร และจุฬาฯ ขอเชิญชวนคนไทยเดินทางเยี่ยมชมสยามสแควร์สถานที่ท่องเที่ยวแห่งใหม่ใจกลางเมือง ที่นำสายไฟลงดินทั้งระบบทันสมัยอันดับ 1 ของโลก ชมหม้อแปลงไฟฟ้าใต้ดินซับเมอร์สที่ทันสมัยนวัตกรรมคนไทย ปลอดอัคคีภัย ลดคาร์บอน ลดโลกร้อน และเป็นแหล่งเรียนรู้การประหยัดพลังงาน มุ่งสู่ Net Zero Emission” อธิการบดีกล่าว

นายประจักษ์ กิติรัตนวิวัฒน์ รองกรรมาการผู้จัดการ (ฝายพัฒนาผลิตภัณฑ์กับนวัตกรรม) บริษัท เจริญชัยหม้อแปลงไฟฟ้า จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้ทำพิธีมอบหม้อแปลงซับเมอร์ส Low Carbon เจริญชัย “Sustainable Energy Management with IoT based Submersible Transformer” ให้กับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอย่างเป็นทางการ ไปเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2565 ที่ผ่านมา โดยมีศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออากรณ์ อธิบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นผู้รับมอบ พร้อมด้วย รศ.ดร.จิตติศักดิ์ ธรรมาภรณ์พิลาศ รองอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมี รศ.ดร.วิศณุ ทรัพย์สมพล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คุณนพชัย ถิรทิตสกุล ประธานกรรมการเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อีโนวา อินทิเกรชั่น จำกัด ร่วมงานในพิธี ณ บริเวณริมถนนอังรีดูนังต์ เพื่อสร้างมิติใหม่การเป็นเมือง SMART CITY ของกรุงเทพฯ นำระบบสายไฟลงใต้ดินทั้งระบบใช้หม้อแปลงซับเมอร์สที่ทันสมัยอันดับ 1 ของโลก ลดทั้งพลังงาน ลดทั้งคาร์บอน ก้าวสู่ Net Zero Emission ตามนโยบายของรัฐบาล
สำหรับหม้อแปลงใต้น้ำ “ซับเมอร์ส Low Carbon” หม้อแปลงใต้น้ำ ติดตั้งใต้ดิน เกิดจากการวิจัยและพัฒนาของ บริษัท เจริญชัยหม้อแปลงไฟฟ้า จำกัด ได้สร้างผลงานโครงการสนับสนุนกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจก (LESS) ประเภทด้านการเพิ่มประสิทธิภาพพลังงาน ของหม้อแปลง Low Carbon ที่มีระบบบริหารจัดการพลังงานสิ้นเปลืองแบบเรียลไทม์ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยบริหารจัดการพลังงานไฟฟ้าภายในสถานประกอบการให้อยู่ในระดับพลังงานที่เหมาะสมและเสถียรภาพ

บริษัท เจริญชัยหม้อแปลงฯ ได้รับการยกย่องจากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) TGO มอบประกาศเกียรติคุณให้แก่บริษัทฯ ที่สามารถพัฒนาหม้อแปลงไฟฟ้า Low Carbon ลดก๊าซเรือนกระจกได้ 69.746 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า เป็นนวัตกรรมไทยของคนไทยที่แรกของโลก ลดคาร์บอน ช่วยไทยเร่งสู่เป้าหมาย ลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิให้เป็นศูนย์ “Net Zero Emission” ตามนโยบายของรัฐบาล หม้อแปลงไฟฟ้า Low Carbon ตอบโจทย์การลดคาร์บอนได้ถึง 100 ล้านตัน/ปี เหมือนปลูกป่าในเมือง 105,263,158 ไร่ ดูดซับคาร์บอน