วันเสาร์, 28 ธันวาคม 2024 | 3 : 45 am
วันเสาร์, 28 ธันวาคม 2024 | 3:45 am

อว.จัดบรรเลงครึกครื้น “ฟื้นเมืองเชียงแสนด้วยเสียงเพลง” สัมผัสมนต์เสน่ห์แห่งคีตศิลป์

วันนี้ (วันที่ 27 เมษายน 2565) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จัดเวทีบรรเลงเพลงพื้นบ้าน ฟื้นเมืองเชียงแสนด้วยเสียงเพลง ผลผลิตจากโครงการวิจัยพื้นที่ทางวัฒนธรรมดนตรีเพื่อพัฒนาและสร้างสรรค์จินตนาการใหม่โดยอาศัยร่องรอยวิถีชีวิตของชุมชนผ่านศิลปินในท้องถิ่นผู้สืบทอดวัฒนธรรมดนตรีของชุมชน

และโครงการขยายผลต่อยอดนวัตกรรมเพลงพื้นบ้านเพื่อเผยแพร่ให้เป็นมรดกชาติ โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สุกรี เจริญสุข หัวหน้าโครงการวิจัย มูลนิธิอาจารย์สุกรี เจริญสุข ควบคุมการจัดแสดง “ฟื้นเมืองเชียงแสนด้วยเสียงเพลง” การบรรเลงดนตรีโดย วงไทยซิมโฟนีออร์เคสตร้า (Thai Symphony Orchestra) ควบคุมวง โดย พันเอก ดร.ประทีป สุพรรณโรจน์ และสร้างสรรค์ภาพจิตรกรรมประกอบบทเพลง โดย ดร.สุชาติ วงษ์ทอง ณ ลานหน้าวัดป่าสัก อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย โดยมี ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานเปิดงาน

และ นายวราดิศร​ อ่อนนุช รองผู้ว่าราชการจังหวัด​เชียงราย​ กล่าว​ตอนรับ​ และนายปกรณ์ สุริวรรณ
นายอำเภอ​เชียงแสน กล่าวรายงาน​ พร้อมกันนี้ ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวง อว.ๅๅ
ผูู้บริหารกระทรวง อว. ผู้บริหารหน่วยงานภาครัฐ
ภาคเอกชน จังหวัดเชียงราย ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ วช. สื่อมวลชน​ และประชาชน​ใน​พื้นที่​ให้เกียรติเข้าร่วมงาน

ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กล่าวว่า เมืองเชียงแสน​ เมืองเก่าแก่มีการแสดงศิลปะดนตรีพื้นบ้านเป็นมรดก การแสดงดนตรี
วงไทยซิมโฟนีออร์เคสตร้า
เป็นการวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนจาก วช. โดย “มูลนิธิอาจารย์สุกรี เจริญสุข” ดำเนินการโดยรองศาสตราจารย์ ดร.สุกรี เจริญสุข ในการวิจัยเพื่ออนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม โดยการค้นหาเพลงเก่าของชุมชนในพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อนำมาเรียบเรียงใหม่ พร้อมเล่นผ่านวงดนตรีซิมโฟนีออร์เคสตร้า เพื่อรักษาเพลงเก่า นำมาเสนอในรูปแบบใหม่ เป็นการรังสรรค์ท่วงทำนองคีตศิลป์กระตุ้นให้เกิดสิ่งใหม่บนรากฐานสิ่งเก่า กิจกรรมบรรเลงเพลงพื้นบ้านที่จังหวัดเชียงรายโดยวงไทยซิมโฟนีออร์เคสตร้าเป็นผลงานการวิจัยในโครงการวิจัยพื้นที่ ทางวัฒนธรรมดนตรีเพื่อพัฒนาและสร้างสรรค์จินตนาการใหม่โดยอาศัยร่องรอยวิถีชีวิตของชุมชนผ่านศิลปินในท้องถิ่นผู้สืบทอดวัฒนธรรมดนตรีของชุมชน

และโครงการขยายผลต่อยอดนวัตกรรมเพลงพื้นบ้านเพื่อเผยแพร่ให้เป็นมรดกชาติ การบรรเลงดนตรีโดยวงไทยซิมโฟนีออร์เคสตร้า (Thai Symphony Orchestra)  นำไปสู่การส่งเสริมการรังสรรค์คีตศิลป์ผ่านบทเพลงและท่วงทำนองอันเป็นเอกลักษณ์เป็นการสร้างผลงานศิลปะทางวัฒนธรรมเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ ส่งเสริมการอนุรักษ์และต่อยอด หวังเป็นอย่างยิ่งว่า อาจารย์สุกรี เจริญสุข และคณะ จะเป็นตัวอย่างในการสร้างสรรค์ท่วงทำนองให้เป็นมรดกวัฒนธรรมแห่งชาติเกิดการสานต่อสิ่งที่บรรพบุรุษของเราหลงเหลือไว้​ สนับสนุน​ความสามารถ​ของเด็กไทยผลักดัน​สาขาสุนทรียศาสตร์ทางด้านดนตรีของประเทศ​ โดยการ พัฒนาดนตรีพื้นบ้านอันเป็นสมบัติที่ล้ำค่าของคนไทยสู่ระดับสากล

ด้านรองศาสตราจารย์ ดร.สุกรี เจริญสุข  เปิดเผยว่า ปัจจัยการนำเพลงท้องถิ่นเพลงพื้นบ้านเพลงไทยที่ได้จากการศึกษาค้นคว้ามาเรียบเรียงใหม่ โดยการสนับทุนการวิจัยจาก วช. ในปีงบประมาณ 2565 ได้ต่อยอดโครงการไปแสดงดนตรีตามหัวเมืองใหญ่ 5 เมืองคือ สุโขทัย เชียงแสน สกลนคร เพชรบุรี และนครศรีธรรมราช โดยยังคงรักษารูปแบบเดิม แต่ละเมืองก็จะมีบทเพลงท้องถิ่นงานวิจัยชิ้นนี้นำวงไทยซิมโฟนีออร์เคสตร้า พร้อมนักดนตรีที่มีฝีมือทุกคนไปแสดงในพื้นที่ ในท้องถิ่นที่เป็นเจ้าของวัฒนธรรม

โดยนำบทเพลงของชุมชนและท้องถิ่นที่ผู้คนรู้จักไปแสดงแทนบทเพลงคลาสสิกของฝรั่ง นอกจากนี้ยังได้จัดแสดงในพื้นที่โบราณสถานอุทยานประวัติศาสตร์ สถานที่ควรเคารพเพื่อใช้ดนตรีหล่อหลอมและกล่อมเกลาความรู้สึกใหม่ของสังคม เสียงดนตรี​ ที่สะอาดออกมาจากจิตใจที่สะอาด อาทิ วัดพระราม พื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์อยุธยา ปราสาทหินอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง ที่วัดเจดีย์หลวง อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ดังนั้นอุทยานประวัติศาสตร์เชียงแสน จึงเป็นเป้าหมายของการแสดงโดยอธิบายเรื่องราวของเพลงให้ผู้ฟังก่อนเข้าสู่บทเพลงพร้อมทั้งประกอบด้วยการสร้างสรรค์ภาพจิตรกรรมประกอบบทเพลง การวิจัยดนตรีครั้งนี้เป็นการทดลองที่จะนำเสนอโดยเอาอดีตมารับใช้ปัจจุบันเพื่อจะสร้างสรรค์สิ่งใหม่ เป็นทางเลือกให้กับวิถีชีวิต ชุมชน และท้องถิ่นเป็นรูปแบบวัฒนธรรมใหม่สู่การขยายทางวัฒนธรรมทางด้านดนตรีต่อไป

โดยการแสดงดังกล่าวได้จุด “ประกาย” แสงสว่างไสวทำให้คนในพื้นที่ได้มองเห็น และตระหนักถึงการรักษาบทเพลงพื้นบ้านให้คงอยู่ เป็นประกายที่สำคัญ ในโอกาสนี้ได้จัดการแสดงบรรเลงบทเพลง เพลงวงคนเวียงเก่า วงสะล้อซอซึงชาวบ้านเชียงแสน เพลงระบำเชียงแสน จากวิทยาลัยนาฏศิลป์เชียงใหม่ เพลงฤๅษีหลงถ้ำ เป่าปี่จุมโดย อาจารย์​ภานุทัต อภิชนาธง เพลง​พิลาสเชียงแสน​ เพลงสะล้อซอซึง​ บรรเลงบทเพลงจากซอพม่า​ เพลงดอกไม้เมือง​ เพลงหนุ่มพญาซึง​ เพลงพญาไพร เป็นต้น​ และ รมว.อว.ได้มอบภาพจิตรกรรมประกอบบทเพลงให้กับนายอำเภอเชียงแสนเพื่อจัดเก็บในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงแสน​ต่อไป เพลงพื้นบ้านจะคงอยู่ต่อไปหากลูกหลานไทยช่วยกันอนุรักษ์และสืบสานเพลงพื้นบ้านให้คงอยู่มนต์เสน่ห์แห่งคีตศิลป์สะท้อนวิถีชีวิตของชุมชนด้วย “วงไทยซิมโฟนีออร์เคสตร้า”