วันศุกร์, 4 ตุลาคม 2024 | 3 : 45 am
วันศุกร์, 4 ตุลาคม 2024 | 3:45 am

13 ผู้นำด้านโมบาย วอลเล็ต และธนาคารดิจิทัลในเอเชียแปซิฟิก ร่วมลงนามโครงการใหม่เพื่อ MSME เร่งการส่งเสริมการมีส่วนร่วมด้านความยั่งยืน

13 ผู้นำด้านโมบาย วอลเล็ต และธนาคารดิจิทัลในเอเชียแปซิฟิก ร่วมลงนามโครงการใหม่เพื่อ MSME เร่งการส่งเสริมการมีส่วนร่วมด้านความยั่งยืน
• แอปการชำระเงินผ่านมือถือ และแพลตฟอร์มดิจิทัลมุ่งมั่นขับเคลื่อนโครงการความยั่งยืนของ MSME ในพื้นที่
• แอนท์ อินเตอร์เนชั่นแนล และ IFC จะสนับสนุน MSMEs ให้นำวิธีปฏิบัติสำหรับความยั่งยืนมาปรับใช้มากขึ้น ปรับปรุงการเข้าถึงการเงินเพื่อความยั่งยืน ขณะที่ Gprnt และแอนท์ อินเตอร์เนชั่นแนลเตรียมเสริมศักยภาพของ MSMEs ด้วยโซลูชันการรายงานด้านความยั่งยืนที่ใช้งานง่ายและการแบ่งปันความรู้

พาร์ทเนอร์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ที่งานแถลงข่าวเปิดตัวโปรแกรม Sirius

กรุงเทพฯ, ประเทศไทย – 1 เมษายน 2567 – โปรแกรม Sirius (Sustainability Innovation for Regenerative & Inclusive Purpose) ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากผู้นำด้านฟินเทคชั้นนำ 13 ราย ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เปิดตัวอย่างเป็นทางการครั้งแรกเมื่อเร็ว ๆ นี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมศักยภาพของวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และขนาดย่อย (MSMEs) ในการเปลี่ยนผ่านไปสู่ความยั่งยืน ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ

โปรแกรม Sirius คือโครงการริเริ่มส่งเสริมการเรียนรู้ที่ขับเคลื่อนโดยภาคอุตสาหกรรม โดยวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุน MSMEs ที่ดำเนินงานบนแพลตฟอร์มดิจิทัลในเส้นทางสู่ความยั่งยืน โครงการนี้จะช่วยส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับนวัตกรรมด้านความยั่งยืน และแบ่งปันวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศระหว่างพาร์ทเนอร์ในอุตสาหกรรมที่มีแนวคิดตรงกัน เพื่อสนับสนุน MSMEs ในเส้นทางสู่ความยั่งยืน ช่วยให้ MSMEs เปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ พัฒนาการเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่ยั่งยืน และยกระดับ MSMEs ด้วยโอกาสในการการเติบโตใหม่ ๆ

บรรษัทการเงินระหว่างประเทศ (IFC) ซึ่งเป็นสมาชิกกลุ่มธนาคารโลก จะร่วมมือกับแอนท์ อินเตอร์เนชั่นแนลเพื่อพัฒนา และผลักดันชุดเครื่องมือจัดการผลกระทบด้านความยั่งยืนดิจิทัล (Digital Sustainability Impact Management Toolkits) ให้เป็นที่ยอมรับภายใน 2 ปี ข้างหน้า ชุดเครื่องมือเหล่านี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมศักยภาพของ MSMEs ในการนำวิธีปฏิบัติที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และสังคมมาใช้ เพื่อปรับปรุงการเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่ยั่งยืนของ MSMEs ผ่านระบบดิจิทัล พร้อมผลักดันให้ผู้เกี่ยวข้องในระบบเศรษฐกิจทั้งหมดมุ่งสู่เส้นทางการพัฒนาที่ก่อให้เกิดคาร์บอนต่ำ

เพื่อสนับสนุน MSMEs ให้เริ่มต้นการเดินทางสู่ความยั่งยืน Gprnt ซึ่งเป็นโครงการริเริ่มโดยหน่วยงานกำกับดูแลสถาบันการเงินของสิงคโปร์ (Monetary Authority of Singapore) จะร่วมมือกับแอนท์ อินเตอร์เนชั่นแนลเพื่อจัดหาโซลูชันสำหรับจัดทำรายงานที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีสำหรับ MSMEs เพื่อให้ MSMEs สามารถเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืนที่เป็นระบบตามเกณฑ์สิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) พื้นฐาน ทั้งนี้ Gprnt จะช่วยเสริมประสิทธิภาพโครงการ Sirius โดยการแบ่งปันกลวิธีที่ MSMEs สามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลและเทคโนโลยีเพื่อเข้าถึงโอกาสทางธุรกิจ เงินทุน และห่วงโซ่อุปทานที่ยั่งยืนได้มากยิ่งขึ้น

ในงานเปิดตัว พาร์ทเนอร์ภาคอุตสาหกรรมจาก 11 ประเทศ จำนวน 13 ราย ได้แสดงเจตนารมย์เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรม Sirius ซึ่งประกอบไปด้วย AlipayHK (เขตปกครองพิเศษฮ่องกง สาธารณรัฐประชาชนจีน) ธนาคาร ANEXT (สิงคโปร์) Bigpay (มาเลเซีย) bKash (บังกลาเทศ) DANA (อินโดนีเซีย) GCash (ฟิลิปปินส์) Hipay (มองโกเลีย) Kakao Pay (สาธารณรัฐเกาหลี) MPay (เขตปกครองพิเศษมาเก๊า สาธารณรัฐประชาชนจีน) TNG Digital (มาเลเซีย) TossPay (สาธารณรัฐเกาหลี) TrueMoney (ไทย) และ Zalopay (เวียดนาม)

บริษัทและธุรกิจในปัจจุบันเผชิญข้อกำหนดเกี่ยวกับการรายงานที่เพิ่มมากขึ้นจากหน่วยงานกำกับดูแล สถาบันการเงิน และพาร์ทเนอร์ในห่วงโซ่อุปทาน เพื่อเปิดเผยและติดตามผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืน ทั้งนี้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) คิดเป็นร้อยละ 90 ของธุรกิจทั้งหมด และร้อยละ 50 ของการจ้างงานทั่วโลก1 แต่ด้วยขนาดที่เล็ก ธุรกิจเหล่านี้จึงขาดความสามารถ และกลไกการรวบรวมข้อมูลสำหรับการรายงานที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืน MSMEs ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของห่วงโซ่อุปทานของบริษัทขนาดใหญ่ ยิ่งเผชิญกับความท้าทายมากขึ้นจากความซับซ้อนของกฎเกณฑ์และเงื่อนไขต่าง ๆ ในการรายงาน ประกอบกับทรัพยากรที่ไม่เพียงพอ และขาดความรู้ความสามารถในการจัดทำรายงานความยั่งยืนพื้นฐาน ตลอดจนต้นทุนที่สูงในการใช้โซลูชันเกี่ยวกับเทคโนโลยี และบริการที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาโซลูชันการรายงานความยั่งยืนที่มีประสิทธิภาพ

ขณะที่บริษัทข้ามชาติต่างมุ่งมั่นลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ และคาดหวังให้ซัพพลายเออร์มุ่งมั่นเช่นเดียวกัน ผู้ค้าปลีกในพื้นที่สามารถสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันได้ด้วยการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ความยั่งยืน เพื่อสนับสนุน MSMEs รวมถึงผู้ประกอบการที่ดำเนินงานผ่านช่องทางดิจิทัล ให้เปลี่ยนผ่านไปสู่ความยั่งยืน จึงมีความเร่งด่วนอย่างยิ่งที่ควรร้องขอความร่วมมือจากภาคอุตสาหกรรมและนวัตกรรม เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาสำคัญเหล่านี้

“เรามักจะพูดถึงการมีส่วนร่วมทางการเงินและดิจิทัลเสมอ แต่การสร้างการมีส่วนร่วมด้านความยั่งยืนให้กับ MSMEs กำลังกลายเป็นหนึ่งในความท้าทายที่เร่งด่วนที่สุด” Leiming Chen, Chief Sustainability Officer, แอนท์ อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าว “เนื่องจากผู้ค้าเหล่านี้มีบทบาทสำคัญมากขึ้นในเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจท้องถิ่น จึงจำเป็นต้องสนับสนุนด้านแนวคิด ความรู้ และทรัพยากรที่ถูกต้องเหมาะสมแก่พวกเขา เพื่อการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (climate action) ด้วยความซับซ้อนของภารกิจ ตั้งแต่ระบบการจัดหมวดหมู่และกรอบการกำกับดูแล ไปจนถึงต้นทุนและการศึกษา จึงต้องอาศัยความพยายามร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชน อุตสาหกรรม และตลาด เพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงนี้ ด้วยประสบการณ์ด้านความยั่งยืนที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมและ MSMEs แอนท์ อินเตอร์เนชั่นแนลรู้สึกภาคภูมิใจที่ได้ร่วมเป็นพาร์ทเนอร์กับองค์กรอย่าง Gprnt และบรรษัทการเงินระหว่างประเทศ และพาร์ทเนอร์ในอุตสาหกรรมรายอื่น ๆ ของโปรแกรม Sirius เช่น GCash เพื่อเปิดโอกาสให้แก่ MSMEs ในการสร้างความเปลี่ยนแปลงเพื่อนำไปสู่ความยั่งยืนมากขึ้น”

“MSMEs ถือเป็นกระดูกสันหลังของเศรษฐกิจทุกแบบที่กำลังเติบโต ด้วยเหตุนี้ GCash จึงทำหน้าที่เป็นสะพานไปสู่โลกดิจิทัลสำหรับพวกเขา โดยการจัดหาเครื่องมือที่จำเป็นเพื่อเปลี่ยนโฉมวิธีการทำธุรกิจของพวกเขา เรายังคงมุ่งมั่นที่จะช่วยเหลือ MSMEs ของฟิลิปปินส์ให้ประสบความสำเร็จผ่านบริการทางการเงินที่เข้าถึงได้อย่างเสมอภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเข้าถึงสินเชื่อได้ง่าย” Martha Sazon, President and Chief Executive Officer ของ GCash กล่าว

“MSMEs เป็นกระดูกสันหลังของเศรษฐกิจเอเชียแปซิฟิก คิดเป็นกว่า 97% ของธุรกิจทั้งหมดและมีพนักงานมากกว่าครึ่งหนึ่งของแรงงานทั้งหมด ในขณะเดียวกัน ภูมิภาคของเราคิดเป็น 3 ใน 3 ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลกจากการผลิตไฟฟ้า และรวมถึงหลายประเทศที่เปราะบางต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” Christina Ongoma, Upstream and Advisory Manager, Financial Institutions Group, East Asia and the Pacific, บรรษัทการเงินระหว่างประเทศ กล่าว “การเติบโตอย่างยั่งยืนของ MSMEs มีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากไม่เพียงแต่สร้างงานและขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ยังปูทางไปสู่อนาคตที่ดีกว่าสำหรับทุกคน”

Sopnendu Mohanty, Chief FinTech Officer, องค์การเงินตราแห่งประเทศสิงคโปร์ กล่าวว่า “การใช้ดิจิทัล วอลเล็ต และโซลูชันการชำระเงินอย่างกว้างขวางทำให้ทั้งสองสิ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการช่วยให้ธุรกิจขนาดเล็กเริ่มต้นการเดินทางไปสู่ความที่ยั่งยืน โครงการริเริ่มในอุตสาหกรรม เช่น โปรแกรม Sirius มีความสำคัญสำหรับภาครัฐและเอกชนในการประสานงานด้านเครื่องมือ กรอบการทำงาน และเทคโนโลยีสำหรับธุรกิจขนาดเล็ก เพื่อสร้างขีดความสามารถด้านความยั่งยืน ในขณะที่พวกเขาเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจสีเขียว เรามีความยินดีที่จะสนับสนุนโปรแกรม Sirius โดยใช้ประโยชน์จากผลงานในโครงการ Savannah ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นร่วมกันสำหรับ MSMEs ในการรายงานข้อมูล ESG พื้นฐาน และผ่านการมีส่วนร่วมของแพลตฟอร์ม Gprnt ที่จัดตั้งขึ้นใหม่ ซึ่งใช้เทคโนโลยี และระบบอัตโนมัติเพื่อลดความซับซ้อนของวิธีที่ MSMEs รายงานข้อมูลดังกล่าว เรามุ่งมั่นทำให้โปรแกรม Sirius นำสถาบันการเงิน และผู้ให้บริการการชำระเงินระดับโลกมารวมตัวกัน เพื่อขับเคลื่อนการเติบโตที่ครอบคลุมและยั่งยืนมากขึ้นสำหรับ MSMEs ทั่วโลก”

-จบ-

เกี่ยวกับโปรแกรม Sirius
Programme Sirius (Sustainability Innovation for Regenerative and Inclusive Purpose) เป็นโปรแกรมส่งเสริมการเรียนรู้ที่มุ่งช่วยเหลือวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดเล็ก และขนาดย่อย (MSMEs) มากขึ้นในการพัฒนาและก้าวสู่ความยั่งยืน ช่วยให้พวกเขาเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำได้ดียิ่งขึ้น และส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่ยั่งยืน สร้างความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญให้กับชุมชนที่ขาดโอกาส

Programme Sirius จะเชิญผู้มีส่วนร่วมในภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะผู้เล่นในตลาดดิจิทัลวอลเล็ตชั้นนำและสถาบันการเงินในเอเชีย มาร่วมส่งเสริมความพยายามด้านความยั่งยืนของวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดเล็ก และขนาดย่อย (MSMEs) อย่างเป็นรูปธรรม สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาเยี่ยมชมเว็บไซต์ www.sirius-programme.com หรือติดต่อ partnerships@programme-sirius.com