วันเสาร์, 23 พฤศจิกายน 2024 | 11 : 42 am
วันเสาร์, 23 พฤศจิกายน 2024 | 11:42 am

สดช. ผนึก ม.เทคโนโลยีมหานคร มุ่งพลิกโฉมประเทศไทยสู่ ‘ผู้สร้าง’ ในเวทีการพัฒนาเทคโนโลยีดาวเทียมและอวกาศ ภายใต้กิจกรรมขององค์การความร่วมมือด้านอวกาศแห่งเอเชียแปซิฟิก (APSCO)

เมื่อพูดถึงดาวเทียมหรืออะไรก็ตามที่เกี่ยวข้องกับอวกาศ คนส่วนใหญ่มักมองเป็นเรื่องไกลตัว แต่ความเป็นจริง ผลผลิตจากนวัตกรรมอวกาศแทรกซึมอยู่ในวิถีการใช้ชีวิตของผู้คนทั้งทางตรงและทางอ้อม ตั้งแต่ตื่นนอนที่สามารถรับชมรายการทีวีต่างๆ หรือขับรถออกจากบ้านก็สามารถใช้แอพพลิเคชันระบบนำทาง นอกจากนั้นเรายังสามารถคาดการณ์สภาพดินฟ้าอากาศที่ทำให้เรารู้ว่าเราควรต้องเตรียมตัวรับสภาพอากาศแบบไหน หรือการเตือนภัยพิบัติต่างๆ เช่น พายุ ไฟป่า หรือน้ำท่วม ทำให้สามารถป้องกันและบรรเทาการสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน ซึ่งเราทุกคนได้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีอวกาศอยู่แล้วเพียงแต่ไม่รู้ตัว ขณะเดียวกัน ผู้คนส่วนใหญ่อาจยังไม่รู้ว่าประเทศไทยยังมีกิจการที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอวกาศและอุตสาหกรรมต่อเนื่องกว่า 35,000 กิจการ โดย 95% เป็นวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม (SMEs) และ Start-up ซึ่งกิจการต่างๆ เหล่านี้ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสร้างรายได้ให้กับประเทศ ประมาณ 56,122 ล้านบาทต่อปี

ดร.พรพรรณ ตันนุกิจ ผู้อำนวยการกองกิจการอวกาศแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สดช.) กล่าวว่า ปัจจุบันเทคโนโลยีดิจิทัลได้หลอมรวมกับเทคโนโลยีอวกาศมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีดาวเทียม ทำให้ต้นทุนการสร้างมีราคาถูกลง เพราะดาวเทียมไม่จำเป็นต้องมีขนาดใหญ่อีกต่อไป ผู้ที่สามารถออกแบบและสร้างดาวเทียมไม่ได้จำกัดเฉพาะกลุ่มของผู้เชี่ยวชาญที่มีองค์ความรู้ในด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมเท่านั้น ที่ผ่านมา เยาวชนไทยได้พิสูจน์ผลงานด้านการออกแบบและสร้างดาวเทียมขนาดเล็กในเวทีการแข่งขันระดับนานาชาติ คว้ารางวัลและสร้างเกียรติยศให้กับประเทศนับครั้งไม่ถ้วน ซึ่งประเทศไทยไม่เคยขาดคนเก่ง เพียงแต่เวทีที่จะสร้างโอกาสให้เยาวชนไทยได้แสดงศักยภาพยังมีอยู่จำกัด

DSC_0114

รัฐบาลได้ตระหนักถึงความสำคัญของการส่งเสริมเพื่อสร้างขีดความสามารถของบุคลากรภายในประเทศด้านการออกแบบดาวเทียม การกำหนดภารกิจ การสร้างและประกอบดาวเทียมขนาดเล็ก เช่น ดาวเทียม CubeSat เนื่องจากดาวเทียมขนาดเล็กมีต้นทุนการผลิตต่ำแต่สามารถใช้งานตอบโจทย์ได้ทั้งเชิงพาณิชย์หรือภารกิจเฉพาะทางได้มากขึ้น และเป็นส่วนหนึ่งของการส่งเสริมเศรษฐกิจอวกาศยุคใหม่ หรือ New Space Economy ของประเทศไทย ซึ่งการได้ร่วมมือกับนานาชาติ เช่น องค์การความร่วมมือด้านอวกาศแห่งเอเชียแปซิฟิก (Asia-Pacific Space Cooperation Organization: APSCO) ส่งผลให้ได้ประโยชน์จากการถ่ายทอดองค์ความรู้ของเทคโนโลยีที่มีความสำคัญเกี่ยวข้องกับการออกแบบและสร้างดาวเทียม ถือเป็นหนึ่งในกลไกหรือเครื่องมือเชิงนโยบายที่ใช้ผลักดันให้บุคลากรของประเทศไทยได้บูรณาการความรู้ในศาสตร์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างดาวเทียม อาทิ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์และคณิตศาสตร์ มาใช้ในการประดิษฐ์และแก้ปัญหาผ่านการลงมือปฏิบัติจริง

%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%20pic1


โครงการ APSCO CubeSat Competition (ACC) เป็นโครงการหนึ่งของ APSCO ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีการพัฒนาดาวเทียม CubeSat ให้แก่ประเทศสมาชิกทั้ง 8 ประเทศ
 ได้แก่ ไทย จีน ปากีสถาน อิหร่าน เปรู มองโกเลีย บังคลาเทศและทูร์เคีย ผ่านการแข่งขันการสร้างดาวเทียมเชิงวิศวกรรม (Engineering Model) ที่มีขนาดรวมไม่เกิน 3U ภายในระยะเวลา 3 ปี เพื่อให้เยาวชนที่เข้าร่วมโครงการมีโอกาสเรียนรู้ตั้งแต่การออกแบบภารกิจ การออกแบบดาวเทียม จนกระทั่งสามารถสร้างดาวเทียมเชิงวิศวกรรมได้ด้วยตนเอง โดยให้แต่ละประเทศสมาชิกทำการคัดเลือกทีมเยาวชนเข้าแข่งขันจำนวน 5 ทีม (ทีมละ 5 คน) ร่วมกิจกรรมต่างๆ ที่มีการประเมินผลโดยผู้เชี่ยวชาญระดับนานาชาติ เพื่อให้ผลการสร้างดาวเทียมในขั้นตอนต่างๆ เป็นไปตามมาตรฐานสากล จากนั้นจึงทำการคัดเลือกหนึ่งทีมสุดท้ายที่มีศักยภาพสูงสุดของแต่ละประเทศสมาชิกเพื่อรับทุนสนับสนุนการสร้างดาวเทียมเชิงวิศวกรรมเป็นจำนวน 100,000 USD (ประมาณ 3 ล้านบาทเศษ)

DSC_0160


การเปิดตัวโครงการ ACC-Thailand 
ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนงานของโครงการ ACC ที่ สดช. รับผิดชอบในนามของประเทศไทย ซึ่ง สดช. ได้เล็งเห็นว่า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร เป็นศูนย์รวมขององค์ความรู้และบุคลากรผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์และมุ่งมั่นส่งเสริมเทคโนโลยีดาวเทียมและกิจการอวกาศมายาวนานกว่า 25 ปี จึงไว้วางใจเสนอให้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานครรับหน้าที่เป็นเจ้าภาพขับเคลื่อนโครงการ ACC-Thailand ตั้งแต่การประชาสัมพันธ์ การรับสมัคร การให้ความรู้เบื้องต้น การออกแบบกิจกรรม การแข่งขัน รวมถึงการเสริมทักษะที่จำเป็น เพื่อเฟ้นหาทีมเยาวชนที่มีศักยภาพจำนวน 5 ทีม เข้าร่วมกิจกรรมของโครงการ ACC ต่อไป อย่างไรก็ดี ทาง สดช. และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร เห็นพ้องต้องกันว่าในช่วงแรกของกิจกรรมในโครงการ ACC เป็นกิจกรรมออนไลน์ เห็นควรเพิ่มทีมเยาวชนอีก 5 ทีม รวมเป็น 10 ทีม เพื่อขยายโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมของเยาวชนผู้สนใจและเป็นการใช้ประโยชน์จากการเป็นภาคีสมาชิกของ APSCO ในอีกทางหนึ่ง ทั้งนี้เยาวชนที่ผ่านเข้ารอบแรกจะได้รับการอบรมการออกแบบดาวเทียมตามแนวคิด (Conceptual Design) จากผู้ทรงคุณวุฒิระดับนานาชาติ จากนั้นทั้ง 10 ทีมจะถูกคัดเลือกเหลือ 5 ทีมตัวจริง เพื่อเข้ากิจกรรมอื่นๆ ของ ACC ต่อไป

%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B8%82%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%81%20Cubesat%20%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%B1%E0%B8%9A%201%20%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%20MUT%20%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A2%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B8%94%20APSCO
%E0%B9%82%E0%B8%8B%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A8%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3


ACC-Thailand
 จึงเป็นก้าวย่างสำคัญที่จะจุดประกายและเปิดโอกาสให้นักเรียน นิสิต นักศึกษา ผู้เชี่ยวชาญ และผู้สนใจได้ใช้ความรู้ ความสามารถในการออกแบบและสร้างดาวเทียม CubeSat ตลอดจนเป็นสะพานเชื่อมให้ภาคธุรกิจ/อุตสาหกรรมตระหนักถึงความเป็นไปได้ในการต่อยอดธุรกิจของตนด้วยเทคโนโลยีที่เยาวชนไทยสร้างขึ้น

%E0%B8%9C%E0%B8%A8.%E0%B8%94%E0%B8%A3.%20%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B9%8C%20%E0%B8%AD%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%94%E0%B8%B5%20%E0%B8%A1.%20%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B9%82%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%A2%E0%B8%B5%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A3%20%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A1%20Cubesat

สำหรับแนวโน้มด้านเทคโนโลยีอวกาศที่เกี่ยวข้องกับดาวเทียมในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ผศ. ดร. ภานวีย์ โภไคยอุดม อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร มีความเห็นว่า มีความก้าวหน้าอย่างมาก โดยเฉพาะ จีน ญี่ปุ่น อินเดียและเกาหลีใต้ ที่สามารถสร้างและปล่อยดาวเทียมได้เอง โดยมีแนวโน้มที่จะมุ่งสร้างดาวเทียมขนาดเล็กในวงโคจรต่ำ (Low Earth Orbit: LEO) ที่มีน้ำหนักไม่เกิน 50 กิโลกรัม ที่ระดับความสูงจากพื้นโลกไม่เกิน 1,000 กิโลเมตร ด้วยเหตุผลด้านค่าใช้จ่ายในการสร้างและการนำส่งขึ้นสู่วงโคจรที่ไม่สูงมากนัก ใช้บุคลากรจำนวนน้อยและใช้เวลาพัฒนาไม่นาน ทำให้สามารถสร้างดาวเทียมได้จำนวนมากขึ้น ซึ่งเหมาะสำหรับการกำหนดภารกิจดาวเทียมแบบกลุ่ม (Satellite Constellation) ที่สามารถประยุกต์ใช้งานได้หลากหลายมากยิ่งขึ้น และจะมีบทบาทอย่างมากในการขับเคลื่อนสังคมและยกระดับเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งการใช้งานด้านการทหารและพลเรือน อาทิ งานด้านความมั่นคงหรือบังคับใช้กฎหมาย การจัดการเมืองอัจฉริยะ (Smart City) การเกษตรความแม่นยำสูง (Precision Agriculture) การตรวจติดตามและเฝ้าระวังภัยพิบัติ ทั้งไฟป่าหรือน้ำท่วม ตลอดรวมถึงเทคโนโลยีในอนาคต อย่างอินเทอร์เน็ตดาวเทียม (Satellite Internet) ที่เป็นการยกระดับการเชื่อมต่อสู่โลกอินเทอร์เน็ตอีกขั้น นั่นคือ สามารถเชื่อมต่อได้ตลอดเวลาถึงแม้โครงสร้างพื้นฐานของระบบเครือข่ายจะล้มเหลว เท่ากับเป็นการสร้างความมั่นใจและลดความสูญเสียของภาครัฐและเอกชน

%E0%B8%9C%E0%B8%A8.%E0%B8%94%E0%B8%A3.%20%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B9%8C%20%E0%B8%AD%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%94%E0%B8%B5%20%E0%B8%A1.%20%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B9%82%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%A2%E0%B8%B5%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A3%20pic3

โครงการ ACC-Thailand จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานครมุ่งมั่นให้เป็นเวทีประลองฝืมือสำหรับเยาวชนที่จะเป็นกำลังหลักของประเทศชาติในอนาคต และยังเป็นต้นแบบของกิจกรรมที่สามารถพัฒนาบุคลากรไปพร้อมกับเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ดังเช่น เทคโนโลยีอวกาศ ซึ่งกิจกรรมนี้ไม่เพียงสร้างเยาวชนให้มีศักยภาพแล้ว ยังผลักดันเยาวชนให้สามารถสร้างนวัตกรรมที่อาจเปลี่ยนโลกด้วยก็เป็นได้ ดร.ภานวีย์ กล่าวสรุป

%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%9A%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B9%82%E0%B8%94%E0%B8%A2%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%20pic1

ท้ายนี้ สดช. และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร รวมถึงผู้เชี่ยวชาญจากทุกภาคส่วนในแวดวงเทคโนโลยีดาวเทียมและอวกาศ ต่างมุ่งหวังว่า ภารกิจของ ACC และ ACC-Thailand จะเป็นฟันเฟืองในการขับเคลื่อนและพลิกโฉมประเทศไทยจาก ‘ผู้ซื้อ’ สู่ ‘ผู้สร้าง’ ดาวเทียม ที่ไม่เพียงเป็นแค่ดาวเทียมวิจัยทดลอง แต่อาจเป็นดาวเทียมเชิงพาณิชย์ฝีมือคนไทย อันจะมีผลต่อการส่งเสริมเศรษฐกิจอวกาศยุคใหม่ของประเทศไทยในอนาคตและตอบโจทย์การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนในระยะยาว

%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%9A%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%97%E0%B8%B5%20pic1