วันจันทร์, 7 กรกฎาคม 2025 | 9 : 21 pm
วันจันทร์, 7 กรกฎาคม 2025 | 9:21 pm

โครงการพัฒนานวัตกรรมเพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาด้วยรูปแบบ Active Learning พัฒนาครูต้นแบบ 1 อำเภอ 1 โรงเรียนคุณภาพสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับประถมศึกษา

โครงการพัฒนานวัตกรรมเพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษา ด้วยรูปแบบ Active Learning พัฒนาครูต้นแบบ 1 อำเภอ 1 โรงเรียนคุณภาพ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับประถมศึกษา

ในระหว่างวันที่ 5-6 กรกฎาคม 2568 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีได้จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ ตามโครงการพัฒนาครูต้นแบบในเขต  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง เพื่อพัฒนาศักยภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาในการ “พลิกโฉมคุณภาพการศึกษาโดยพัฒนาครูให้มีศักยภาพสอดคล้องกับศตวรรษที่ 21” โดยการร่วมพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ด้วยกระบวนการคิดขั้นสูง เชิงระบบ GPAS 5 Steps ไปสู่การสร้างผู้เรียนให้เป็นนวัตกร อันเป็นกิจกรรมสำคัญ ตามโครงการพัฒนานวัตกรรมเพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาด้วยรูปแบบ Active Learning สำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษา              สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (1 อําเภอ 1 โรงเรียนคุณภาพ) ระดับประถมศึกษา พร้อมกัน 6 จุด     ในจังหวัดอุบลราชธานี อำนาจเจริญ และร้อยเอ็ด โดยมีครูและบุคลากรทางการศึกษาเข้าร่วมอบรมทั้งสิ้นจำนวน 650 คน 

สำหรับการอบรมในจุดที่ 1 นายวรวิทย์ โสภาพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเขต 1 ได้เป็นประธานในพิธีเปิดการอบรม ณ ห้องประชุมสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เขต 1 อำเภอเมือง  จังหวัดอุบลราชธานี

  สำหรับการอบรมในจุดที่ 2 นายอดุลย์ จันทร์ฝาง ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเขต 2 ได้เป็นประธานในพิธีเปิดการอบรม ณ ห้องประชุมสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เขต 2 อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี โดยเป็นการอบรมในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เขต 2 และเขต 3

 สำหรับการอบรมในจุดที่ 3 นางสาวปุณยนุช. ดวงศรี ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเขต 4 ได้เป็นประธานในพิธีเปิดการอบรม ณ ห้องประชุมสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เขต 4 อำเภอวารินชำราบ  จังหวัดอุบลราชธานี

              ครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มาร่วมดำเนินการโครงการนี้จะเป็นกําลังสําคัญในการร่วมขับเคลื่อนการดําเนินงาน โปรดให้ความสนใจในสาระสําคัญและเทคนิคกระบวนการที่วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจะได้สร้างความตระหนักรู้ในความสําคัญของการพัฒนาครูตามโครงการนี้ ขอให้ทุกท่านให้ความร่วมมือเรียนรู้จากการอบรมเชิงปฏิบัติการจนเกิดความเข้าใจในเทคนิคกระบวนการการเรียนรู้ด้วยการคิดขั้นสูงเชิงระบบ GPAS 5 Steps และฝึกลงมือทําจนมีทักษะอย่างเพียงพอที่จะไปมีส่วนร่วมผลักดันการปฏิรูปการเรียนรู้ระดับห้องเรียนด้วยกระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ GPAS 5 Steps ซึ่งเป็นการพัฒนานวัตกรรมการสอนของครูให้ส่งผลถึงการสร้างนวัตกรรมของนักเรียน เน้นการเพิ่มพูนมูลค่าทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์ด้วย Soft Power ให้เกิดผลจริงเป็นรูปธรรม จนมองเห็นได้อย่างชัดเจนว่าอะไรเป็นไปได้ที่จะเป็นผลงานนวัตกรรมที่เกิดจากการทำงานของครู และอะไรจะเป็นไปได้ที่จะเป็นนวัตกรรมของนักเรียนตามโครงการนี้  หากกิจกรรมการอบรมครั้งนี้สามารถส่งผลให้ครูนำไปพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนให้นักเรียนสร้างนวัตกรรมได้ตามเป้าหมายของโครงการฯ กิจกรรมการจัดการเรียนรู้ของครูเหล่านั้นก็จะเป็นผลงานสำคัญ      ในการพัฒนาวิชาชีพครูได้เช่นกัน 

ด้าน ดร.ศักดิ์สิน โรจน์สราญรมย์ ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการสามัญ          ประจำวุฒิสภา คณะกรรมาธิการการศึกษา การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กล่าวว่า การเรียนแบบเดิม    ที่เน้นการฟัง อ่าน ท่อง เพื่อสอบ เป็นเพียงการกระตุ้นความจำระยะสั้น ซึ่งลืมง่ายและไม่พัฒนาสมองในระยะยาว         ทำให้การเรียนรู้สูญเปล่าเมื่อเด็กโตขึ้น แต่หากเปลี่ยนมาใช้รูปแบบ Active Learning ผ่านกระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ GPAS 5 Steps ที่ผู้เรียนได้ลงมือคิด ปฏิบัติ แก้ปัญหาด้วยตนเอง จะช่วยพัฒนาความจำระยะยาวและสมอง                 ได้อย่างแท้จริง ซึ่งเป็นแนวทางที่นักการศึกษาทั่วโลกย้ำมานานกว่าร้อยปีว่า “การเรียนรู้ต้องมาจากการลงมือทำ”     ดังนั้น ถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องพลิกโฉมการศึกษา ต้องเปลี่ยนทั้งระบบการเรียนรู้ เพื่อหยุดความสูญเปล่าทางการศึกษา