วันศุกร์, 27 ธันวาคม 2024 | 6 : 09 am
วันศุกร์, 27 ธันวาคม 2024 | 6:09 am

กองทุนพัฒนาสื่อฯ จับมือ นิเทศศาสตร์ จุฬาฯ เปิดหลักสูตรออนไลน์ ชวนประชาชนเรียนรู้เท่าทันสื่อกองทุนพัฒนาสื่อฯ จับมือ นิเทศศาสตร์ จุฬาฯ เปิดหลักสูตรออนไลน์ ชวนประชาชนเรียนรู้เท่าทันสื่อ

กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ร่วมกับ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดทำโครงการหลักสูตรการเรียนการสอนออนไลน์เกี่ยวกับการรู้เท่าทันและเฝ้าระวังสื่อที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์ มุ่งสร้างการตระหนักรู้ สร้างความรู้เกี่ยวกับสื่อที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์ให้กับกลุ่มประชาชน ผ่านการเรียนการสอนแบบออนไลน์ช่องทางเว็บไซต์ โดยเปิดให้บริการฟรี สำหรับประชาชนทุกคน ตั้งเป้ามีผู้เข้าเรียนไม่น้อยกว่า 1,000 คน

ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ กล่าวว่า.. กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ มีภารกิจสร้างการรู้เท่าทันสื่อและการเฝ้าระวังสื่อที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์ กองทุนสื่อฯ มีบทบาทหน้าที่เป็นผู้สนับสนุนด้านการรู้เท่าทันสื่อระหว่างผู้เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อในประเทศไทย โดยการดำเนินการส่งเสริมทักษะการรู้เท่าทันและการส่งเสริมพัฒนาการตระหนักรู้ ความรู้เกี่ยวกับสื่อที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์ให้กับกลุ่มประชาชนที่มีความหลากหลาย ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ควรจะต้องผลักดันให้เข้าสู่ระบบการศึกษาผ่านสังคมพลวัติและโลกาภิวัตน์ในปัจจุบัน จึงได้ริเริ่มดำเนินการจัดหาช่องทางในการเพิ่มรูปแบบการเผยแพร่องค์ความรู้ด้านการรู้เท่าทันสื่อ เพื่อเป็นการขยายผู้มีส่วนร่วมและสร้างการรับรู้ในวงกว้างมากขึ้น จึงได้จัดทำโครงการผลิตหลักสูตรการเรียนการสอนออนไลน์ที่เกี่ยวกับการรู้เท่าทันและเฝ้าระวังสื่อที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์ โดยสื่อสารผ่านช่องทางที่เรียกว่า MOOCs (Massive Open Online Course) หรือตามที่รู้จักกัน คือ นวัตกรรมหลักสูตรการเรียนการสอนแบบออนไลน์ผ่านช่องทางเว็บไซต์ แบบเปิดเสรีสำหรับประชาชนทุกคนสามารถเข้าเรียนได้โดยไม่จำกัดจำนวน

รองศาสตราจารย์ ดร.ปรีดา อัครจันทโชติ คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า.. ปัจจุบันวิถีชีวิตของคนไทยเริ่มเปลี่ยนไปสู่ชีวิตดิจิทัลด้วยเทคโนโลยีที่เพิ่มมากขึ้น จำนวนคนไทยที่ใช้อินเทอร์เน็ต ในชีวิตประจำวันเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว มีความนิยมใช้สื่อสังคมออนไลน์ติดต่อสื่อสารอย่างแพร่หลายในชีวิตประจำวัน ทำให้การสื่อสารเปลี่ยนแปลงไปตามเทคโนโลยีที่เข้ามา ทุกคนสามารถนำเสนอเรื่องราวผ่านสื่อสังคมออนไลน์โดยไม่มีการตรวจสอบ มีการปฏิสัมพันธ์ระหว่างงผู้ส่งสารและผู้รับสารได้ตลอดเวลา ทำให้บางครั้งสื่อออนไลน์ก็เป็นช่องทางในสร้างปัญหาทางสังคมอาทิ การสร้างสังคมบลูลี่ออนไลน์ การสร้างข่าวปลอม การโฆษณาเกินจริง จนก่อเกิดการสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจตามมา ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงจำเป็นต้องแสวงหาหนทางในการสร้างองค์ความรู้ให้กับประชาชนในการรับรู้เท่าทันการใช้สื่อในยุคปัจจุบันมากขึ้น จึงเกิดโครงการหลักสูตรการเรียนการสอนออนไลน์เกี่ยวกับการรู้เท่าทันและเฝ้าระวังสื่อที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์ เพื่อให้ประชาชนได้มีช่องทางในการเรียนรู้ที่ถูกต้อง ซึ่งการดำเนินงานใช้การออกแบบที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยผสมผสานหลักการของการออกแบบสากลเพื่อการเรียนรู้ (Universal Design for Learning: UDL) รองรับผู้เรียนที่มีความหลากหลาย เพื่อให้แน่ใจว่าผู้เรียน เข้าถึงเนื้อหาได้

กองทุนพัฒนาสื่อฯ จับมือ นิเทศศาสตร์ จุฬาฯ เปิดหลักสูตรออนไลน์ ชวนประชาชนเรียนรู้เท่าทันสื่อ … กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ร่วมกับ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดทำโครงการหลักสูตรการเรียนการสอนออนไลน์เกี่ยวกับการรู้เท่าทันและเฝ้าระวังสื่อที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์ มุ่งสร้างการตระหนักรู้ สร้างความรู้เกี่ยวกับสื่อที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์ให้กับกลุ่มประชาชน ผ่านการเรียนการสอนแบบออนไลน์ช่องทางเว็บไซต์ โดยเปิดให้บริการฟรี สำหรับประชาชนทุกคน ตั้งเป้ามีผู้เข้าเรียนไม่น้อยกว่า 1,000 คน ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ กล่าวว่า.. กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ มีภารกิจสร้างการรู้เท่าทันสื่อและการเฝ้าระวังสื่อที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์ กองทุนสื่อฯ มีบทบาทหน้าที่เป็นผู้สนับสนุนด้านการรู้เท่าทันสื่อระหว่างผู้เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อในประเทศไทย โดยการดำเนินการส่งเสริมทักษะการรู้เท่าทันและการส่งเสริมพัฒนาการตระหนักรู้ ความรู้เกี่ยวกับสื่อที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์ให้กับกลุ่มประชาชนที่มีความหลากหลาย ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ควรจะต้องผลักดันให้เข้าสู่ระบบการศึกษาผ่านสังคมพลวัติและโลกาภิวัตน์ในปัจจุบัน จึงได้ริเริ่มดำเนินการจัดหาช่องทางในการเพิ่มรูปแบบการเผยแพร่องค์ความรู้ด้านการรู้เท่าทันสื่อ เพื่อเป็นการขยายผู้มีส่วนร่วมและสร้างการรับรู้ในวงกว้างมากขึ้น จึงได้จัดทำโครงการผลิตหลักสูตรการเรียนการสอนออนไลน์ที่เกี่ยวกับการรู้เท่าทันและเฝ้าระวังสื่อที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์ โดยสื่อสารผ่านช่องทางที่เรียกว่า MOOCs (Massive Open Online Course) หรือตามที่รู้จักกัน คือ นวัตกรรมหลักสูตรการเรียนการสอนแบบออนไลน์ผ่านช่องทางเว็บไซต์ แบบเปิดเสรีสำหรับประชาชนทุกคนสามารถเข้าเรียนได้โดยไม่จำกัดจำนวน รองศาสตราจารย์ ดร.ปรีดา อัครจันทโชติ คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า.. ปัจจุบันวิถีชีวิตของคนไทยเริ่มเปลี่ยนไปสู่ชีวิตดิจิทัลด้วยเทคโนโลยีที่เพิ่มมากขึ้น จำนวนคนไทยที่ใช้อินเทอร์เน็ต ในชีวิตประจำวันเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว มีความนิยมใช้สื่อสังคมออนไลน์ติดต่อสื่อสารอย่างแพร่หลายในชีวิตประจำวัน ทำให้การสื่อสารเปลี่ยนแปลงไปตามเทคโนโลยีที่เข้ามา ทุกคนสามารถนำเสนอเรื่องราวผ่านสื่อสังคมออนไลน์โดยไม่มีการตรวจสอบ มีการปฏิสัมพันธ์ระหว่างงผู้ส่งสารและผู้รับสารได้ตลอดเวลา ทำให้บางครั้งสื่อออนไลน์ก็เป็นช่องทางในสร้างปัญหาทางสังคมอาทิ การสร้างสังคมบลูลี่ออนไลน์ การสร้างข่าวปลอม การโฆษณาเกินจริง จนก่อเกิดการสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจตามมา ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงจำเป็นต้องแสวงหาหนทางในการสร้างองค์ความรู้ให้กับประชาชนในการรับรู้เท่าทันการใช้สื่อในยุคปัจจุบันมากขึ้น จึงเกิดโครงการหลักสูตรการเรียนการสอนออนไลน์เกี่ยวกับการรู้เท่าทันและเฝ้าระวังสื่อที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์ เพื่อให้ประชาชนได้มีช่องทางในการเรียนรู้ที่ถูกต้อง ซึ่งการดำเนินงานใช้การออกแบบที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยผสมผสานหลักการของการออกแบบสากลเพื่อการเรียนรู้ (Universal Design for Learning: UDL) รองรับผู้เรียนที่มีความหลากหลาย เพื่อให้แน่ใจว่าผู้เรียน เข้าถึงเนื้อหาได้ ทั้งนี้ หลักสูตรการเรียนการสอนออนไลน์เพื่อการเรียนรู้เรื่องรู้เท่าทันสื่อสำหรับประชาชนทั่วไปมีทั้งหมด 4 หน่วยการเรียน ได้แก่ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การเข้าถึงสื่อในชีวิตประจำวัน หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การรับสื่ออย่างปลอดภัยและสร้างสรรค์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 ทักษะการรู้เท่าทันสื่อ และหน่วยการเรียนรู้ที่ 4 การพัฒนาการรู้เท่าทันสื่อ ทั้งนี้ เนื้อหาบทเรียนในแต่ละหน่วยการเรียนรู้จะมีทั้งทฤษฎีและการปฏิบัติ เพื่อให้ผู้เรียนได้รับ ประสบการณ์การเรียนรู้ที่ครบถ้วนและมีประสิทธิภาพในการนำไปประยุกต์ใช้ได้ ผู้เรียนตามเกณฑ์ที่กำหนดจะได้รับใบประกาศนียบัตรอิเล็กทรอนิกส์อีกด้วย โดยกลุ่มเป้าหมายได้แก่ เด็กและเยาวชน นักเรียน นักศึกษา ประชาชน และผู้สนใจทั่วไป โดยคาดว่าจะมีผู้สนใจเรียนรู้ไม่น้อยกว่า 1,000 คน ผู้ที่สนใจสามารถติดตามข่าวสารได้ที่ “ รู้สื่อรู้safe ” ในช่องทาง Facebook , Instagram , X , Shorts (Youtube) และ TikTok …ทั้งนี้ หลักสูตรการเรียนการสอนออนไลน์เพื่อการเรียนรู้เรื่องรู้เท่าทันสื่อสำหรับประชาชนทั่วไปมีทั้งหมด 4 หน่วยการเรียน ได้แก่ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การเข้าถึงสื่อในชีวิตประจำวัน หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การรับสื่ออย่างปลอดภัยและสร้างสรรค์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 ทักษะการรู้เท่าทันสื่อ และหน่วยการเรียนรู้ที่ 4 การพัฒนาการรู้เท่าทันสื่อ ทั้งนี้ เนื้อหาบทเรียนในแต่ละหน่วยการเรียนรู้จะมีทั้งทฤษฎีและการปฏิบัติ เพื่อให้ผู้เรียนได้รับ ประสบการณ์การเรียนรู้ที่ครบถ้วนและมีประสิทธิภาพในการนำไปประยุกต์ใช้ได้ ผู้เรียนตามเกณฑ์ที่กำหนดจะได้รับใบประกาศนียบัตรอิเล็กทรอนิกส์อีกด้วย โดยกลุ่มเป้าหมายได้แก่ เด็กและเยาวชน นักเรียน นักศึกษา ประชาชน และผู้สนใจทั่วไป โดยคาดว่าจะมีผู้สนใจเรียนรู้ไม่น้อยกว่า 1,000 คน

ผู้ที่สนใจสามารถติดตามข่าวสารได้ที่ “ รู้สื่อรู้safe ” ในช่องทาง Facebook , Instagram , X , Shorts (Youtube) และ TikTok …