เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2566 นางธัญรัตน์ อินทร รองเลขาธิการสายงานพื้นที่และชุมชน สกพอ. หรือ อีอีซี เป็นประธานพร้อมมอบรางวัลในงานประกาศรางวัลโครงการ อีอีซี สแควร์ ประจำปี 2566 (EEC2 : Environmental Empowerment CAMP & CONTEST) ณ โรงแรมบางแสนเฮอริเทจ จังหวัดชลบุรี ซึ่งได้รับเกียรติจากผู้บริหารหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน อาทิ นายเจริญฤทธิ์ สงวนสัตย์ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านพื้นที่และชุมชน นายณัฐพงษ์ สงวนจิตร รองผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา นายชัยพร แพภิรมย์รัตน์ ปลัดจังหวัดชลบุรี
นายฉัตรชัย ทิมกระจ่าง นายกเทศมนตรีเมืองศรีราชา นายณัฏฐ์ธน สาตรจีนพงษ์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดชลบุรี ผศ.ดร.ณยศ คุรุกิจโกศล ผู้รักษาการแทนรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยบูรพา ธนาคารกรุงไทย จำกัดบริษัท ดับบลิวเอชเอ อินดัสเตรียล ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) บริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด เข้าร่วมชมผลงานและแสดงความยินดีแก่เยาวชน
โครงการ อีอีซี สแควร์ ประจำปี 2566 ได้สร้างการมีส่วนร่วม และสิ่งเสริมให้เยาวชนใน อีอีซี แสดงศักยภาพผ่านการประกวดการสร้างสรรค์โครงงานนวัตกรรม และการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อช่วยพัฒนาสิ่งแวดล้อมท้องถิ่นในมิติต่างๆ ตามบริบทของพื้นที่ พร้อมสร้างโอกาสการขยายผลจริงในชุมชน
ทั้งนี้ ได้รับเกียรติจากคณะกรรมการประเมินผลงานเยาวชนซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิจาก EECi. NECTEC สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพื้นที่ชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยศิลปากร PTTGC และธนาคารไทยพาณิชย์ โดยผลงานดีเด่น รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ โรงเรียนเซนต์หลุยส์ฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา กับการออกแบบและพัฒนาถังดักไขมันในน้ำเสียเพื่อใช้ในครัวเรือน รองชนะเลิศอันดับ 1 โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ 2 จังหวัดฉะเชิงเทรา กับโครงการ Smart farm feeding เครื่องให้อาหารปลาอัตโนมัติและติดตามอุณหภูมิน้ำผ่าน Application และรองชนะเลิศอันดับ 2 โรงเรียนหมอนทองวิทยา จังหวัดฉะเชิงเทรา กับผลงานโครงการกระถางจากธรรมชาติ โดยนำฟางข้าวมาแปรรูปเป็นกระถางเพื่อลดมลภาวะทางอากาศจากการเผาฟางข้าว
นอกจากนี้ ยังมีรางวัลพิเศษแห่งความประทับใจ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากธนาคารกรุงไทย อีก 5 รางวัล ได้แก่ รางวัล Best Content Creator ได้แก่ โรงเรียนมกุฎเมืองราชวิทยาลัย จังหวัดระยอง รางวัล Best Impact ได้แก่ โรงเรียนแปลงยาวพิทยาคม จังหวัดฉะเชิงเทรา รางวัล School Supporter ได้แก่ โรงเรียนบ้านสวน
(จั่นอนุสรณ์) จังหวัดชลบุรี รางวัล Young EEC Square Courage ได้แก่ โรงเรียนวัดป่าประดู่ จังหวัดระยอง และรางวัล Start Up DNA ได้แก่ โรงเรียนอัสสัมชัญระยอง จังหวัดระยอง
สำหรับโครงการ อีอีซี สแควร์ นับเป็นโครงการสำคัญที่ อีอีซี สร้างการมีส่วนร่วมและพัฒนาศักยภาพเยาวชน ซึ่งได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2562 โดยในปี 2566 นี้ได้เปิดรับสมัครเยาวชนระดับมัธยมศึกษาในพื้นที่อีอีซี มีเยาวชนเข้าร่วมจำนวน 17 โรงเรียน และได้รับการเรียนรู้เกี่ยวกับ อีอีซี การนำเทคโนโลยีนำเทคโนโลยี board Kidbright มาปรับใช้ในการทำโครงงาน ซึ่งตั้งใจให้เยาวชนที่เรียนเรื่อง coding ในโรงเรียนอยู่แล้วได้เข้าใจว่าสิ่งที่เรียนสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาผลงานที่เป็นประโยชน์ได้อย่างไร รวมถึงมีการพัฒนาทักษะต่าง ๆ เช่น การทำงานเป็นทีม การศึกษาดูงานกระบวนการผลิตแบตตารีลิเทียมในอุตสาหกรรมจริง เป็นต้น และที่สำคัญ อีอีซี ได้รับความร่วมมือจากภาครัฐและเอกชนหลายหน่วยงาน ให้ความสนใจนำผลงานเยาวชนไปพัฒนาต่อยอดขยายผลจริงในชุมชน ในโรงงาน และสร้างโอกาสต่อยอดเชิงพาณิชย์อีกด้วย