ศูนย์ทดสอบมาตรฐานไฟฟ้า MICE แห่งแรกของประเทศไทย



วันที่ 8 เมษายน 2568 สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (สสปน.) สมาคมการแสดงสินค้า (ไทย) กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน ผลักดันส่งเสริมสนับสนุนวิทยาลัยการอาชีพอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี เปิด “ศูนย์ทดสอบมาตรฐานไฟฟ้า MICE (Meetings, Incentives, Conferences, and Exhibitions)” แห่งแรกอย่างเป็นทางการในประเทศไทย” เพื่อยกระดับสมรรถนะของผู้เรียนในสายอาชีพ รองรับความต้องการของอุตสาหกรรมไมซ์ ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ สร้างกำลังคนสมรรถนะสูงสู่อุตสาหกรรมไมซ์ระดับสากลในโอกาสนี้ ได้รับเกียรติจาก ว่าที่ ร.ต. รักชัย เลิศสุบิน ปลัดจังหวัดอุดรธานี เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการ โดยได้กล่าวชื่นชมการดำเนินงานของวิทยาลัยฯ ว่า “โครงการศูนย์ทดสอบมาตรฐานไฟฟ้า MICE แห่งนี้ เป็นโครงการที่มีคุณค่าและสำคัญต่อการพัฒนาเยาวชนและแรงงานของประเทศไทยในระยะยาว ถือเป็นการสร้างรากฐานที่มั่นคงในการส่งเสริมทักษะวิชาชีพที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานทั้งในระดับประเทศและระดับสากล”ภายในงาน ดร.สุรพงษ์ เอิมอุทัย ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ได้กล่าวมอบนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ ภายใต้แนวคิด “เรียนดี มีความสุข” โดยเน้นย้ำว่า “การที่เด็กนักเรียนจะสามารถเรียนดีได้นั้น ต้องมีกระบวนการจัดการศึกษาที่เหมาะสม ซึ่งรวมถึงการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ (Partnership) กับสถานประกอบการที่มีศักยภาพ โดยการมีพาร์ตเนอร์ที่เข้มแข็งถือเป็นรากฐานสำคัญในการยกระดับคุณภาพการศึกษ การเรียนดีต้องควบคู่ไปกับความสุขของผู้เรียน โดยสุขจะเริ่มต้นตั้งแต่วันแรกที่นักเรียนเข้ามาศึกษา มีความสุขตลอดช่วงเวลาที่ศึกษา และเมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว จะต้องมีความสุขจากการได้งานทำที่มั่นคงและสามารถสร้างคุณค่าให้กับชีวิต”พร้อมกันนี้ คุณอรชร ว่องพรรณงาม ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาอุตสาหกรรมไมซ์ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (สสปน.) ได้กล่าวแสดงความยินดีและสนับสนุนการเปิดศูนย์ฯ ดังกล่าวว่า ในฐานะที่ สสปน. เป็นผู้ขับเคลื่อนโครงการนี้ร่วมกับภาคืทั้งภาคเอกชน สมาคมและภาคการศึกษา “เล็งเห็นว่าการจัดตั้งศูนย์ทดสอบมาตรฐานไฟฟ้า MICE แห่งแรกในประเทศไทย ถือเป็นก้าวสำคัญในการวางรากฐานระบบพัฒนาบุคลากรไมซ์อย่างยั่งยืน เราในฐานะผู้ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไมซ์ ขอชื่นชมวิสัยทัศน์ของผู้บริหารวิทยาลัยการอาชีพอุดรธานี ที่สามารถบูรณาการการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคธุรกิจได้อย่างแท้จริง ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างขีดความสามารถของอุตสาหกรรมไมซ์ไทยให้แข่งขันได้ในระดับภูมิภาคและระดับโลกอย่างยั่งยืนต่อไป




นอกจากนี้ยังตั้งเป้าหมายร่วมกันในการผลักดันจำนวนผู้ผ่านการรับรองภายใน 5 ปี ในเมืองไมซ์ซิตี้ 10 เมือง กว่า 100 สถาบันระดับอาชีวศึกษา โดยการขับเคลื่อนนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) (สอศ.) ให้เกิดผลผลิตอย่างเป็นรูปธรรม จำนวน 1,000 คน เพื่อยกระดับการบริการอย่างมืออาชีพในอุตสาหกรรมไมซ์ต่อไปในอนาคต ซึ่งอุตสาหกรรมไมซ์ไม่ได้ต้องการเพียงความรู้ แต่ต้องการ ‘ความพร้อม’ ทั้งด้านทักษะและจิตวิญญาณของการทำงาน ศูนย์แห่งนี้จะเป็นพื้นที่สำคัญในการบ่มเพาะสิ่งเหล่านั้นให้กับคนรุ่นใหม่”ด้าน ดร.สุนทรผไท จันทระ ผู้อำนวยการวิทยาลัยการอาชีพอุดรธานี กล่าวต้อนรับแขกผู้มีเกียรติ และแสดงความเชื่อมั่นต่อบทบาทของศูนย์ฯ ว่า “ศูนย์ทดสอบมาตรฐานไฟฟ้า MICE แห่งนี้เกิดจากความร่วมมือของหลายภาคส่วน ที่มีเป้าหมายร่วมกันในการสร้างกำลังคนคุณภาพสูง เราเชื่อมั่นว่านี่จะเป็นต้นแบบในการยกระดับอาชีวศึกษา ที่ตอบโจทย์ทั้งความต้องการแรงงานภายในประเทศและสู่ระดับนานาชาติได้อย่างแท้จริง ศูนย์แห่งนี้มีความพร้อมในการเป็นแหล่งฝึกอบรม ทดสอบมาตรฐาน และเสริมสร้างทักษะเฉพาะทางด้านระบบไฟฟ้า แสง สี เสียง และเทคโนโลยีสนับสนุนอุตสาหกรรมไมซ์ เพื่อผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพ มีจิตสำนึกที่ดี และมีความพร้อมสู่ตลาดแรงงานในโลกยุคใหม่”ด้านสมาคมการแสดงสินค้า (ไทย) คุณพีรพรรณ อังคสุโข เลขาธิการสมาคมการแสดงสินค้า (ไทย) ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า “ในนามของสมาคมการแสดงสินค้า (ไทย) ผู้ใช้บริการบุคลากรคุณภาพสูงจากช่างไฟฟ้าไมซ์ เห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาฝีมือแรงงานที่เป็นเสาหลักในการให้บริการเพื่อให้งานแสดงสินค้ามีความปลอดภัยและได้รับมาตรฐานการบริการแบบมืออาชีพ ยินดีอย่างยิ่งในการสนับสนุนโครงการนี้ และพร้อมที่จะเดินหน้าในการส่งเสริมสนับสนุนไปพร้อมกับสถาบันการศึกษาและหน่วยงานภาครัฐ และในนาม N.C.C. Management & Development Co., Ltd. เชื่อมั่นในการสร้างและส่งเสริมมาตรฐานบุคลากร พร้อมที่จะให้การสนับสนุนทั้งองค์ความรู้และอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อให้เกิดการยกระดับคุณภาพฝีมือแรงงานให้กับนักเรียน นักศึกษา และผู้ประกอบการที่สนใจก้าวสู่ครอบครัวไมซ์ของประเทศไทย สร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจทั้งระบบให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของการจัดงานไมซ์ในภูมิภาคอาเซียนต่อไปอย่างยั่งยืน”สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (สสปน.) สมาคมการแสดงสินค้า (ไทย) พร้อมพันธมิตรภาคีภาคการศึกษาและภาคเอกชน พร้อมที่จะเดินหน้าผลักดันการเปิดศูนย์ทดสอบมาตรฐานไฟฟ้า MICE ในเมืองแห่งไมซ์จำนวน 9 แห่งในอนาคต พร้อมส่งเสริมบุคลากรช่างไฟฟ้าไมซ์ให้ปรเทศไทยกว่า 1,000 คนต่อไปสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ คุณนับเดือน ฝ่ายพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมไมซ์ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (สสปน.) www.businesseventsthailand.com


