วันพฤหัสบดี, 21 พฤศจิกายน 2024 | 8 : 28 pm
วันพฤหัสบดี, 21 พฤศจิกายน 2024 | 8:28 pm

‘Asia International Hemp Expo 2024’ เดินหน้าสร้าง Ecosystem Business ขยายศักยภาพอุตสาหกรรมกัญชงไทย ผนึกพันธมิตรมุ่งสู่ Wellness – Sustainable ตอบโจทย์ตลาดโลก

‘Asia International Hemp Expo 2024’ เดินหน้าสร้าง Ecosystem Business ขยายศักยภาพอุตสาหกรรมกัญชงไทย ผนึกพันธมิตรมุ่งสู่ Wellness – Sustainable ตอบโจทย์ตลาดโลก

           สมาคมการค้าอุตสาหกรรมกัญชงไทย (TiHTA) จับมือร่วมกับ นีโอ เดินหน้าอุตสาหกรรมกัญชงไทยเพื่อสร้างโอกาสใหม่ พร้อมหารือญี่ปุ่นแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ พัฒนาศักยภาพเพื่อเจาะกลุ่มธุรกิจด้านการแพทย์และเส้นใย เร่งผนึกพันธมิตรเพิ่ม ชูจุดแข็งไทยด้านการเพาะปลูก จ่อพัฒนาพื้นที่และสายพันธุ์รองรับห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรม พร้อมจัดงาน ‘Asia International Hemp Expo 2024’ แพลตฟอร์มเชื่อมโยงนักลงทุน นักอุตสาหกรรมกัญชง สร้าง Ecosystem Business อย่างเป็นรูปธรรม   

           นายพรชัย ปัทมินทร นายกสมาคมการค้าอุตสาหกรรมกัญชงไทย เปิดเผยว่า สถานการณ์ปัจจุบัน อุตสาหกรรมกัญชงถูกขับเคลื่อนเพื่อใช้ประโยชน์ด้านสุขภาพในกลุ่มธุรกิจ Health & Wellness มากขึ้น จากความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ที่ได้ทำการวิจัยนำไปสู่การสร้างผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์กับเทรนด์สุขภาพ ขณะเดียวกันเส้นใยจากกัญชง วัสดุธรรมชาติที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวด้านความทนทาน แข็งแรง และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม นับเป็นวัตถุดิบทางเลือกที่ตอบโจทย์ด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ถูกนำมาใช้เป็นวัตถุดิบทดแทนทางอุตสาหกรรมมากขึ้น ส่งผลให้หลายประเทศทั่วโลกเล็งเห็นการสร้างห่วงโซ่อุปทานของกัญชง (Supply Chain) ซึ่งรวมถึงประเทศไทยที่มีศักยภาพโดดเด่นด้านการปลูก เนื่องจากมีภูมิศาสตร์ที่เหมาะสมและสามารถพัฒนาพื้นที่ปลูกจนนำไปสู่การเป็นแหล่งวัตถุดิบที่ดีของโลกได้ จึงเป็นโอกาสสำคัญของประเทศไทยในการสร้างเครือข่ายทางธุรกิจให้เกิดเป็น Ecosystem Business ในวงกว้างระดับนานาชาติ เพื่อสร้างความยั่งยืนแก่อุตสาหกรรมกัญชงไทยในอนาคต

หารือ ‘ญี่ปุ่น’ ตลาดแห่งโอกาสอุตสาหกรรมกัญชง

           สมาคมการค้าอุตสาหกรรมกัญชงไทย ได้ร่วมการประชุมกัญชงนานาชาติโตเกียวครั้งที่ 1 (1st Tokyo International Hemp Conference) ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เพื่อหารือความร่วมมือและแลกเปลี่ยนความรู้ด้านกัญชงและกัญชาระหว่างประเทศไทยและญี่ปุ่น ซึ่งเป็นประเทศที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านกัญชง โดยเฉพาะด้านการแพทย์ เนื่องจากญี่ปุ่นมีการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์กัญชาทางการแพทย์อย่างต่อเนื่อง จนสร้างการเติบโตของกลุ่มธุรกิจสุขภาพ มีมูลค่าตลาดอยู่ที่ 9,939 ล้านบาท หรือ 45,000 ล้านเยนในปี 2024 และคาดการณ์จะเติบโตถึง 22,750 ล้านบาท หรือ 103,000 ล้านเยน ในปี 2027 สะท้อนการเติบโตของอุปสงค์ในระดับสูงสำหรับกลุ่มอุตสาหกรรม

           ทั้งนี้ การขยายตัวในอุตสาหกรรมกัญชาและกัญชงของญี่ปุ่นมีความชัดเจนอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น จากการที่รัฐบาลญี่ปุ่นได้ประกาศนโยบายหลัก แก้ไขกฎหมายควบคุมการใช้แคนนาบิส (Cannabis Control Act) หรือการปลดล็อค ‘แคนนาบิสเพื่อการแพทย์’ โดยได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 สาระสำคัญระบุเกี่ยวกับการอนุญาตให้ใช้แคนนาบิสในทางการแพทย์ และอนุญาตให้ปลูกแคนนาบิสเพื่อเป็นวัตถุดิบทางเวชภัณฑ์ ถือเป็นประเทศต้นแบบในการควบคุมและนำมาใช้ที่เหมาะสม และเกิดการเติบโตสูงขึ้นในกลุ่มธุรกิจด้านการแพทย์ในช่วงประมาณ 1 ปีที่ผ่านมาหลังจากปลดล็อคกฎหมาย

           ขณะที่เส้นใยกัญชง ประเทศญี่ปุ่นมีประสบการณ์ในการใช้เส้นใยกัญชงมายาวนาน ตั้งแต่การนำมาใช้เชิงวัฒนธรรมและอุตสาหกรรม จากการที่มีเทคโนโลยีการแปรรูปเส้นใยที่ทันสมัยเป็นที่ต้องการของนานาประเทศ ส่วนประเทศไทย มีศักยภาพด้านการปลูกกัญชงเพื่อผลิตเส้นใยคุณภาพสูง การเรียนรู้เทคโนโลยีการแปรรูปเส้นใยกัญชงจากญี่ปุ่น จะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มและโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆได้

ผนึกพันธมิตร พัฒนาสายพันธุ์-เพิ่มช่องทางการตลาดกัญชง

           สมาคมการค้าอุตสาหกรรมกัญชงไทย ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี พัฒนาสายพันธุ์กัญชง TIHTA 1 และTIHTA 2 เพื่อสร้างพืชกัญชงที่เหมาะสมกับสภาพอากาศและภูมิศาสตร์ของประเทศไทย รวมถึงได้ดำเนินการสร้างความร่วมมือคู่ขนานในการเข้าร่วมสมาพันธ์กัญชงนานาชาติ