วันพุธ, 15 มกราคม 2025 | 3 : 57 pm
วันพุธ, 15 มกราคม 2025 | 3:57 pm

วช. รุกเดินหน้าขับเคลื่อน “กลไก Future Talent Empowerment สร้างคนให้ตรงใจ ตอบโจทย์วิจัยของประเทศ” ในงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2567

วันที่ 29 สิงหาคม 2567 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดปาฐกถาพิเศษเรื่อง “กองทุน ววน. กับการขับเคลื่อน Future Talent Empowerment” โดย ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ประธานกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ต่อด้วยการเสวนาในหัวข้อเรื่อง: กลไก Future Talent Empowerment ตอบโจทย์ประเทศ” โดย ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง

ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ศ.ดร.สมปอง คล้ายหนองสรวง ผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนา กำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม นายพันธุ์เพิ่มศักดิ์ อารุณี ผู้อำนวยการกองขับเคลื่อนและพัฒนาการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ดำเนินรายการ รศ.ดร.คมกฤต เล็กสกุล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดขึ้นในงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2567” (Thailand Research Expo 2024) ภายใต้แนวคิด “สานพลังวิจัย ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมไทยอย่างยั่งยืน” ณ ห้องเวิลด์บอลรูม ชั้น 23 โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ 

ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ประธานกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ฯ ได้ปาฐกถาพิเศษเรื่อง กองทุน ววน. กับการขับเคลื่อน Future Talent Empowerment โดยกล่าวถึงโครงสร้างของระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ประเภทงบประมาณของกองทุน ววน. ทิศทางและน้ำหนักในการจัดสรรทรัพยากรที่จำกัดในการสนับสนุนเพื่อพัฒนาประเทศ กลไกการผลิตและพัฒนาบุคลากร ววน. ซึ่งการผลิตกำลังคนจำเป็นต้องเชื่อมโยงกับความต้องการของประเทศ โดยใช้กลไกเชิงวิชาการในรูปแบบต่าง ๆ รวมถึงภาคส่วนที่ผลิตกำลังคน ต้องทดลองวิธีการใหม่ ๆ รวมถึงการเพิ่มและปรับทักษะให้กำลังคนที่มีอยู่พร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงของโลกในปัจจุบัน 

ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ได้ร่วมเสวนาในหัวข้อเรื่อง: กลไก Future Talent Empowerment ตอบโจทย์ประเทศ ร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิในด้านต่าง ๆ ว่า

วช. ในฐานะหน่วยงานบริหารจัดการงานวิจัยและนวัตกรรม ซึ่ง วช. ได้วางแผนการบริหารจัดการทุนวิจัยและนวัตหรรมเพื่อตอบรับ Future Talent Empowerment ตามบทบาทหน้าที่ของ วช. โดยสามารถแบ่งการบริหารจัดการของ วช. เพื่อตอบรับ Future Talent Empowerment ออกเป็น 2 ส่วนสำคัญ ได้แก่ส่วนที่ 1 กลไกการสนับสนุนทุนเพื่อให้เกิดการพัฒนาและเสริมทักษะอย่างต่อเนื่อง ซึ่งประกอบด้วย การสนับสนุนวิจัยและนวัตกรรมเส้นทางอาชีพนักวิจัย และศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญ (Hub of Talents) และศูนย์กลางด้านความรู้(Hub of Knowledge)โดยมีศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 18 ศูนย์ และมีศูนย์กลางด้านความรู้ จำนวน 13 ศูนย์ ส่วนที่ 2 กลไกการสนับสนุนอื่น ได้แก่ การพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือนานาชาติ (Global partnership) และกิจกรรมส่งเสริมการพัฒนาองค์ความรู้ และทักษะที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและนวัตกรรม ได้แก่ รางวัลการวิจัยแห่งชาติ รางวัลนวัตกรรมสายอุดมศึกษา การส่งเสริมการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ ทั้งนี้ วช. มีเป้าหมายที่จะสร้างและรักษาบุคลากรวิจัยและนวัตกรรมเพื่อเพิ่มจำนวนและคุณภาพของบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนาให้ตรงกับความต้องการของประเทศและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

ถัดมา เป็นการเสวนาในหัวข้อ เรื่อง “Talent Empowerment Showcase” โดย ศ.ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ดร.เนรัญ สุวรรณโชติช่วงที่ปรึกษาฝ่ายกิจการสัมพันธ์ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด รศ.ดร.อาชนัน เกาะไพบูลย์ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมธีวิจัยอาวุโส วช. ดำเนินรายการ โดย รศ.ดร.คมกฤต เล็กสกุล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

สำหรับผู้ที่สนใจเข้าร่วมงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2567” (Thailand Research Expo 2024) ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 26 – 30 สิงหาคม 2567 ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯวันที่ 29 สิงหาคม 2567 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดปาฐกถาพิเศษเรื่อง “กองทุน ววน. กับการขับเคลื่อน Future Talent Empowerment” โดย ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ประธานกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ต่อด้วยการเสวนาในหัวข้อเรื่อง: กลไก Future Talent Empowerment ตอบโจทย์ประเทศ” โดย ดร.วิภารัตน์ ดีอ่องผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ศ.ดร.สมปอง คล้ายหนองสรวง ผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนา กำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม นายพันธุ์เพิ่มศักดิ์ อารุณี ผู้อำนวยการกองขับเคลื่อนและพัฒนาการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ดำเนินรายการ รศ.ดร.คมกฤต เล็กสกุล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดขึ้นในงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2567” (Thailand Research Expo 2024) ภายใต้แนวคิด “สานพลังวิจัย ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมไทยอย่างยั่งยืน” ณ ห้องเวิลด์บอลรูม ชั้น 23 โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ 

ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ประธานกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ฯ ได้ปาฐกถาพิเศษเรื่อง กองทุน ววน. กับการขับเคลื่อน Future Talent Empowerment โดยกล่าวถึงโครงสร้างของระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ประเภทงบประมาณของกองทุน ววน. ทิศทางและน้ำหนักในการจัดสรรทรัพยากรที่จำกัดในการสนับสนุนเพื่อพัฒนาประเทศ กลไกการผลิตและพัฒนาบุคลากร ววน. ซึ่งการผลิตกำลังคนจำเป็นต้องเชื่อมโยงกับความต้องการของประเทศ โดยใช้กลไกเชิงวิชาการในรูปแบบต่าง ๆ รวมถึงภาคส่วนที่ผลิตกำลังคน ต้องทดลองวิธีการใหม่ ๆ รวมถึงการเพิ่มและปรับทักษะให้กำลังคนที่มีอยู่พร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงของโลกในปัจจุบัน ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ได้ร่วมเสวนาในหัวข้อเรื่อง: กลไก Future Talent Empowerment ตอบโจทย์ประเทศ ร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิในด้านต่าง ๆ ว่าวช. ในฐานะหน่วยงานบริหารจัดการงานวิจัยและนวัตกรรม ซึ่ง วช. ได้วางแผนการบริหารจัดการทุนวิจัยและนวัตหรรมเพื่อตอบรับ Future Talent Empowerment ตามบทบาทหน้าที่ของ วช. โดยสามารถแบ่งการบริหารจัดการของ วช. เพื่อตอบรับ Future Talent Empowerment ออกเป็น 2 ส่วนสำคัญ ได้แก่ส่วนที่ 1 กลไกการสนับสนุนทุนเพื่อให้เกิดการพัฒนาและเสริมทักษะอย่างต่อเนื่อง ซึ่งประกอบด้วย การสนับสนุนวิจัยและนวัตกรรมเส้นทางอาชีพนักวิจัย และศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญ (Hub of Talents) และศูนย์กลางด้านความรู้(Hub of Knowledge)โดยมีศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 18 ศูนย์ และมีศูนย์กลางด้านความรู้ จำนวน 13 ศูนย์ ส่วนที่ 2 กลไกการสนับสนุนอื่น ได้แก่ การพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือนานาชาติ (Global partnership) และกิจกรรมส่งเสริมการพัฒนาองค์ความรู้ และทักษะที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและนวัตกรรม ได้แก่ รางวัลการวิจัยแห่งชาติ รางวัลนวัตกรรมสายอุดมศึกษา การส่งเสริมการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ ทั้งนี้ วช. มีเป้าหมายที่จะสร้างและรักษาบุคลากรวิจัยและนวัตกรรมเพื่อเพิ่มจำนวนและคุณภาพของบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนาให้ตรงกับความต้องการของประเทศและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
ถัดมา เป็นการเสวนาในหัวข้อ เรื่อง “Talent Empowerment Showcase” โดย ศ.ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ดร.เนรัญ สุวรรณโชติช่วงที่ปรึกษาฝ่ายกิจการสัมพันธ์ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด รศ.ดร.อาชนัน เกาะไพบูลย์ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมธีวิจัยอาวุโส วช. ดำเนินรายการ โดย รศ.ดร.คมกฤต เล็กสกุล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
สำหรับผู้ที่สนใจเข้าร่วมงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2567” (Thailand Research Expo 2024) ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 26 – 30 สิงหาคม 2567 ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ