วันอาทิตย์, 15 กันยายน 2024 | 2 : 16 pm
วันอาทิตย์, 15 กันยายน 2024 | 2:16 pm

พว. ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา ที่เน้นกระบวนการเรียนการสอนแบบผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Active Learning) ด้วยกระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ GPAS 5 Steps

พว. ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา ที่เน้นกระบวนการเรียนการสอนแบบผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Active Learning) ด้วยกระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ GPAS 5 Steps

เมื่อวันจันทร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 เวลา 09.00-11.30 น. ณ สถาบันพัฒนา คุณภาพวิชาการ (พว.) ได้มีการจัดแถลงข่าว พิธีลงนามบันทึกความเข้าใจ ความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) ระหว่างสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 ร่วมกับ สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.) โดยมีคณะผู้บริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 และ ดร.ศักดิ์สิน โรจน์สราญรมย์ ประธานกรรมการบริหาร สถาบันพัฒนา คุณภาพวิชาการ (พว.) ร่วมแถลงข่าวความร่วมมือทางวิชาการ ปีการศึกษา 2566-2568 ในการดำเนินโครงการพัฒนาครู และบุคลากรทางการศึกษา ระดับประถมศึกษา-มัธยมศึกษา โดยมีความประสงค์ตรงกันในการพัฒนา ส่งเสริม และ สนับสนุน พัฒนาการปฏิบัติงานของครู และบุคลากรทางการศึกษา ร่วมมือกันพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้านกระบวนการเรียนการสอนแบบผู้เรียนสร้าง ความรู้ด้วยตนเอง (Active Learning) ด้วยกระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ (GPAS 5 Steps) ให้เป็นผู้นำทางวิชาการในการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนทุกคน ในระดับปฐมวัย ประถมศึกษา และมัธยมศึกษา โดยจัดให้มี การส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาอย่างเต็มศักยภาพ มีคุณภาพ และมีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

โดยร่วมกันพัฒนานวัตกรรมการบริหารจัดการเรียนรู้ให้ก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงของวิทยาการการเรียนรู้ (Learning Science) การยกระดับคุณภาพด้วยการพัฒนาครูตามหลักสูตรแนวใหม่ ให้สอดคล้องสัมพันธ์กับ ความก้าวหน้าของการจัดการเรียนรู้ ที่เน้นความแตกต่างทางพหุปัญญาอย่างมีคุณภาพ และมีทักษะการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21 เพื่อพัฒนาครูสู่นวัตกรรมนักเรียน โดยมีเป้าหมายสำคัญของความร่วมมือครั้งนี้ คือ มุ่งให้ ผู้เรียนเกิดผลการเรียนรู้จากการลงมือทำ หรือการทำงาน (Task) เป็นผลงาน ผลผลิตและนวัตกรรม ผู้เรียน มีความรู้ระดับความคิดรวบยอดและระดับหลักการ โดยสามารถนำหลักการไปใช้ในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ด้วยกระบวนการเรียนรู้เดียวกัน ที่สามารถนำไปใช้เรียนรู้เรื่องต่าง ๆ ได้ในชีวิตประจำวัน

ผลที่คาดว่าจะได้รับเกิดจากครูผู้สอนในแต่ละสถานศึกษา มีความเข้าใจและมีแนวทางการปฏิบัติที่เหมาะสมในการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อรองรับการประกันคุณภาพ สถานศึกษามียุทธศาสตร์ และกลยุทธ์ที่เหมาะสมต่อการจัดประสบการณ์และ กิจกรรมการเรียนรู้ ที่นำวิธีการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ด้วยกระบวนการ GPAS ไปพัฒนาการเรียน การสอนอย่างเป็นระบบ ครูมีแนวทางในการพัฒนาความเป็นครูมืออาชีพ รวมทั้งการบริหารจัดการ ส่งเสริม พัฒนาครูผู้สอน เพื่อนร่วมงานของสถานศึกษาในเรื่อง การจัดการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์การเรียนรู้แบบ Active Learning ผ่านการพัฒนาการคิดเชิงระบบและการท างานที่มีแบบแผนสู่การสร้างนวัตกรรม ด้วยกระบวนการ GPAS เพื่อรองรับยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (Thailand 4.0) ที่มีคุณภาพสอดคล้องกับวัย พัฒนาการ ความต้องการ และความสนใจของเด็ก