วันอาทิตย์, 8 กันยายน 2024 | 1 : 44 am
วันอาทิตย์, 8 กันยายน 2024 | 1:44 am

หม้อแปลงใต้น้ำ “จุฬาฯ” ตอบโจทย์ “ชัยธวัช” อดีตพ่อเมืองเลยพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่ยั่งยืน ป้องกันไฟไหม้บ้านเก่าเชียงคาน

“คมกฤษ” โยธาธิการและผังเมืองจังหวัดเลย ชี้! โครงการจุฬาฯ Smart Street Low Carbon ตอบโจทย์พัฒนาเชียงคานสู่แหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ยั่งยืน สร้างความทันสมัย สร้างทัศนียภาพเมืองเก่าแก่ให้มีความที่สมบูรณ์สวยงาม “ใช้หม้อแปลงใต้น้ำ” ป้องกันอัคคีภัย ไฟไหม้บ้านเรือนเก่าแก่กว่า 100 ปีของเชียงคาน สร้างทัศนียภาพเอกลักษณ์ความสวยงาม ดึงดูดนักท่องเที่ยวชม สร้างรายได้เข้าเลยหลายร้อยล้านต่อปี”

นายคมกฤษ ศริยุทธแสนยากร โยธาธิการและผังเมือง จังหวัดเลย กล่าวว่า จังหวัดเลย ในปัจจุบันนี้มีการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวไปมาก โดยเฉพาะอำเภอเชียงคาน พบว่า ในปัจจุบันการท่องเที่ยวเชียงคานเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว สิ่งก่อสร้างเพิ่มขึ้นอย่างมากมาย หากมีการควบคุมดูแลไม่เป็นระบบ จะส่งผลกระทบตามมาในระยะยาวได้ ทรัพยากรจะเสื่อมโทรมเร็ว อาจไม่สามารถฟื้นคืนสู่สภาพเดิมได้ วัฒนธรรมชุมชน มีสิ่งปลูกสร้างเก่าแก่ วิถีชีวิตชุมชนจะเปลี่ยนแปลง เพี่อตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยว เกิดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ทั้งการจัดการขยะมูลฝอย น้ำเสีย ระบบสาธารณูปโภคหากดูแลไม่ทั่วถึง จนกลายเป็นผลด้านลบต่อแหล่งท่องเที่ยว

ดังนั้น เพื่อเป็นการอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยว ควรมีการพัฒนาเป็นระบบ จัดการการท่องเที่ยวให้เกิดความยั่งยืน เพราะ อำเภอเชียงคาน เป็นเมืองโบราณเก่าแก่ มีประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีการสืบสานวัฒนธรรมประเพณี มีความเป็นเอกลักษณ์ด้านวิถีชีวิตและภูมิปัญญา บ้านเรือนเก่าแก่เป็นร้อยปี มีศักยภาพในการพัฒนาการท่องเที่ยวทำให้เชียงคานสร้างแรงดึงดูดให้นักท่องเที่ยวหลั่งไหลเข้ามาตลอดทั้งปี สร้างรายได้เข้าจังหวัดหลายร้อยล้านบาทต่อปี ด้านการพัฒนาเมืองโบราณอันเก่าแก่อย่างอำเภอเชียงคานให้คงเอกลักษณ์ไว้อย่างสมบูรณ์ ควบคู่ไปกับการพัฒนาที่ยั่งยืน ควรทำการพัฒนาในทุกมิติ ทั้งระบบสาธารณูปโภค การจัดการขยะมูลฝอย น้ำเสีย พร้อมทั้งสร้างระบบความยั่งยืนด้านพลังงานควบคู่ไปพร้อมกัน

ที่ผ่านมา นายชัยธวัช เนียมศิริ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดเลย ได้มีนโยบายให้ปรับปรุงแผนพัฒนาการท่องจังหวัด โดยมีจุดยืนการพัฒนาจังหวัดเลยให้เป็นเมืองการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เป็นเมืองการเกษตรและอาหารปลอดภัย รับผิดต่อสังคม เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยฉะเพราะการพัฒนาการเชียงคาน ซึ่งแหล่งท่องเที่ยวประวัติศาสตร์ของจังหวัดให้สู่ความยั่งยืนควบคู่กับการส่งเสริมและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ทั้งการผลิต การค้าและการบริการ ด้วยการนำสายไฟหม้อแปลงใต้น้ำลงดินทั้งระบบ เพื่อสร้างความปลอดภัยอัคคีภัยในพื้นของเชียงคาน ตามความต้องการของพี่น้องประชาชนในพื้นที่ ในการป้องกันการเกิดอัคคีภัย ไฟไหม้บ้านเรือนที่เป็นไม้ เก่าแก่กว่า 100 ปี

“จากนโยบายดังกล่าวของอดีตผู้ว่าราชการจังหวัดเลย ตนมองว่าการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นเมืองโบราณอันเก่าแก่อย่างอำเภอเชียงคาน ให้คงเอกลักษณ์ ป้องกันการเกิดอัคคีภัย ไฟไหม้บ้านเรือนของประชาชนที่อายุกว่า 100 ปี ควรมีการพัฒนาในทุกมิติ ให้มีความยั่งยืนควบคู่ไปพร้อมกัน เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวที่เพิ่มมากขึ้นในพื้นที่อำเภอเชียงคาน ควรนำรูปแบบ โครงการ “จุฬา Smart Street Low Carbon” อังรีดูนังต์ ที่จุฬาฯ เป็นต้นแบบการพัฒนา ตอบโจทย์การพัฒนาเมืองท่องเที่ยวที่เก่าแก่อย่างเชียงคาน ให้สวยงาม มีความที่สมบูรณ์ได้เป็นอย่างดี สร้างคุณค่าอาคารบ้านเรือนเก่าแก่ ให้ดูเด่นสง่าสวยงาม โดยใช้หม้อแปลงใต้น้ำ ป้องกันอัคคีภัย ไม่มีสายไฟ หม้อแปลงไฟฟ้า บดบังหน้าบ้านเรือนพี่น้องประชาชน สร้างทัศนียภาพใหม่ให้เชียงคานดึงดูดนักท่องเที่ยวสร้างรายได้ให้จังหวัดปีละหลายร้อยล้านบาทต่อปี

แน่นอนที่สุด เชียงคาน จะเป็นจุดเช็คอินแห่งใหม่ของนักท่องเที่ยว สร้างความพึงพอใจหลั่งไหลเขามาอย่างมากมาย เป็นการสร้างรายได้ที่ยั่งยืนให้ชาวเชียงคาน ตามแนวคิดของอดีตผู้ว่าฯ ชัยธวัช ที่ต้องการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวแห่งนี้ให้มีความสมบูรณ์ควบคู่ไปกับการส่งเสริมอนุรักษ์วัฒนธรรมที่สวยงาม”

นายคมกฤษ กล่าวเพิ่มเติมว่า สถานที่ท่องเที่ยวสยามสแควร์ หลังจากมีการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคด้วยการนำสายไฟหม้อแปลงใต้น้ำลงดินทั้งระบบ พื้นที่ธุรกิจการค้าดูสะอาด สวยงามอย่างมาก ปัจจุบัน “สยามสแควร์” ดึงดูดนักท่องเที่ยวเข้าเยี่ยมชมเพิ่มขึ้นกว่าเดิมมาก มีความทันสมัยอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะจุดที่นำหม้อแปลงใต้น้ำลงดิน ริมถนนอังรีดูนังต์ กลายเป็นจุดเช็คอินแห่งใหม่ มีนักนักท่องเที่ยวให้ความสนใจอย่างมาก ไม่เพียงแค่ทัศนียภาพจะดูมีความทันสมัยเท่านั้น สถานที่แห่งนี้ ยังเป็นแหล่งเรียนรู้ข้อมูล “การลดเรือนกระจก” “ลดคาร์บอน” “ลดการใช้พลังงาน” จากหม้อแปลงใต้น้ำอีกด้วย ในเรื่องนี้การไฟฟ้าภูมิภาคในพื้นที่จังหวัดเลย ควรนำมาเป็นต้นแบบ การนำสายลงดินทั้งระบบในพื้นที่ท่องเที่ยวอย่างที่เชียงคาน เพื่อให้สอดคล้องกับแนวนโยบายการพัฒนาของจังหวัดเลยให้สู่ความยั่งยืนอย่างแท้จริง